Monday, 30 November 2009

WMS

WMS web mapping servics บริการข้อมูลแผนที่ผ่านทาง web
ในการบริการข้อมูลแผนที่ผ่านทาง web หรือ OGC Web Service (OWS) จะประกอบด้วย
-Web Mapping Service (WMS) คือส่วนที่ให้บริการข้อมูลในส่วนของข้อมูลภาพ อันได้แก่ภาพถ่ายดาวเทียมภาพถ่ายทางอากาศ หรือการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทั้งในรูปแบบ vector และ raster ในรูปแบบของภาพแบบ JPEG หรือ PNG ฯลฯ แล้วจึงนำออก web
-Web Feature Service (WFS) คือส่วนที่ให้บริการข้อมูลในส่วนของข้อมูลที่เป็น Vector
แต่ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีก็คือ เทคโนโลยี WMS นี่แหละ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ UMN Mapserver หรือ Google Maps ฯลฯ ล้วนแต่แสดงภาพข้อมูลแผนที่ออกมาในลักษณะ WMS
ขณะที่ เทคโนโลยี WFS ที่เป็นมาตรฐานจะส่งออกข้อมูลแผนที่ที่เป็น Vector มาในรูปแบบของ GMLแนวทาง WMS นั้นปัจจุบัน หลายๆที่ เราสามารถจะดึงข้อมูลจาก web server ของเขาเข้ามาร่วมแสดงผลกับ การประยุกต์ใช้งานของเรา
กล่าวคือ ถ้าจะสร้างระบบข้อมูลแผนที่ขึ้นมาแสดงใน web เราสามารถจะนำข้อมูลที่เป็น Free WMS มาแสดงร่วมกับข้อมูลของเราได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมข้อมูล ลดแรงพลังงานของเครื่อง web server ลงไปแยะ
เป็นประโยชน์มากใช่ไหมคะ แล้วเราจะหา Free WMS ได้จากที่ไหนล่ะคะ นี่คือคำถาม ก็ขอตอบได้เลยว่า ไปที่ http://www.skylab-mobilesystems.com/en/wms_serverlist.html จะเห็นได้ว่า มี Free WMS อยู่มากมาย
ส่วนด้านการพัฒนา ก็มีสองแนวทาง แนวทางของ ภาษา C/C++ เช่น พวก UMN Mapserver หรือแนวทาง ของภาษา JAVA เช่น Geotools Openlayers ส่วนพวกที่ผสานความเด่นของทั้งสองแนวทางน่าจะเป็น Ka-map นี่แหละคะ
หรือถ้าต้องการให้ใช้งานแบบ Stand alone แนวทางในตอนนี้ ก็เห็น จะมี QGIS หรือ Quantum GIS ( http://download.qgis.org/qgis/ )ที่น่าสนใจมาก เพราะสามารถใช้งานร่วมกับ ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องของเรา ข้อมูลที่เป็น WMS ที่อยู่ใน internet หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่เป็น Object Database อย่าง Postgres ได้ค่ะ

Friday, 27 November 2009

เรามารู้จัก PHP กันดีกว่า...3

เมื่อวานเราก็ได้คุยกันไปในเรื่องของหลักการทำงานของ php กันแล้วนะคะสำหรับวันนี้เรามาทำความรู้จักกับประวิตความเป็นมาของ php กันหน่อยดีกว่ามั้ยคะ
ประวัติของ PHP

PHP ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1994 จากนั้นก็มีการพัฒนาต่อมาตามลำดับ เป็นเวอร์ชั่น 1 ในปี 1995 เวอร์ชั่น 2 (ตอนนั้นใช้ชื่อว่า PHP/FI) ในช่วงระหว่าง 1995-1997 และเวอร์ชั่น 3 ช่วง 1997 ถึง 1999 จนถึงเวอร์ชั่น 4 ในปัจจุบัน
PHP เป็นผลงานที่เติบโตมาจากกลุ่มของนักพัฒนาในเชิงเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือ OpenSource ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ Apache Webserver ระบบปฏิบัติอย่างเช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลายๆตัวบนระบบปฏิบัติการอย่างเช่น Windows 95/98/NT เป็นต้น
รายชื่อของนักพัฒนาภาษา PHP ที่เป็นแก่นสำคัญในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
-Zeev Suraski, Israel
-Andi Gutmans, Israel
-Shane Caraveo, Florida USA
-Stig Bakken, Norway
-Andrey Zmievski, Nebraska USA
-Sascha Schumann, Dortmund, Germany
-Thies C. Arntzen, Hamburg, Germany
-Jim Winstead, Los Angeles, USA
-Rasmus Lerdorf, North Carolina, USA
เนื่องจากว่า PHP ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัว Web Server ดังนั้นถ้าจะใช้ PHP ก็จะต้องดูก่อนว่า Web server นั้นสามารถใช้สคริปต์ PHP ได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น PHP สามารถใช้ได้กับ Apache WebServer และ Personal Web Server (PWP) สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 95/98/NT
ในกรณีของ Apache เราสามารถใช้ PHP ได้สองรูปแบบคือ ในลักษณะของ CGI และ Apache Module ความแตกต่างอยู่ตรงที่ว่า ถ้าใช้ PHP เป็นแบบโมดูล PHP จะเป็นส่วนหนึ่งของ Apache หรือเป็นส่วนขยายในการทำงานนั่นเอง ซึ่งจะทำงานได้เร็วกว่าแบบที่เป็น CGI เพราะว่า ถ้าเป็น CGI แล้ว ตัวแปลชุดคำสั่งของ PHP ถือว่าเป็นแค่โปรแกรมภายนอก ซึ่ง Apache จะต้องเรียกขึ้นมาทำงานทุกครั้ง ที่ต้องการใช้ PHP ดังนั้น ถ้ามองในเรื่องของประสิทธิ ภาพในการทำงาน การใช้ PHP แบบที่เป็นโมดูลหนึ่งของ Apache จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า


สำหรับเรื่องราวของ php ก็ขอจบลงในภาค 3 นี้ก่อนก็แล้วกันนะคะ สำหรับใครที่สนใจอยากศึกษาเรื่องราวของ php เพิ่มเติมก็สามรถศึกษาได้จากที่นี่นะคะ http://202.28.94.55/webclass/pub-lesson.cs?storyid=8 ขอบคุณค่า..

ส่งการบ้าน ปฏิบัติการที่ 4

ปฏิบัติการที่ 4
ข้อ 6. จากประสบกาณ์ที่นิสิตเคยเรียนมาในรายวิชาการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ นิสิตคิดว่าตัวดำเนินการทั้งสองลักษณะมักจะใช้ในสถานการณ์ใด

ตอบ....มักจะใช้ช่วยในการคำนวณค่าและประมวลผลในเรื่องต่าง ๆให้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น โปรแกรมเครื่องคิดเลข โปรเกรมการคิดเกรด (ตัดเกรด) โปรแกรมการคำนวณเงินหรือว่าอัตราจ้าง เป็นต้น ซึ่งจะประมวลค่าที่เราเพิ่มเข้าไปทั้งในรูปแบบตัวเลขหรือว่าเป็นแบบรหัส ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้ผลลัพธ์ทั้งจริงและเท็จ ซึ่งเราสามารถที่จะตรวจสอบและเข้าไปแก้ไขได้


ข้อ 9.

ข้อ 12.

ข้อ 15.

ส่งการบ้าน ปฏิบัติการที่ 3


ปฏิบัติการที่ 3 โปรแกรมภาษา PHP

ข้อที่ 4


ข้อที่ 7


ข้อที่ 14

Thursday, 26 November 2009

เรามารู้จัก PHP กันดีกว่า...2

เมื่อวานได้พูดถึง php คืออะไรกันแล้ววันนีเรามาดูหลักการทำงานของ php กันบ้างนะคะ

หลักการทำงาน

โปรแกรมภาษา PHP จะทำหน้าที่ในการสร้างเอกสารสำหรับเวบ โดยภาษา PHP จะเขียนแทรกอยู่ในไฟล์ ที่มีส่วนขยายเป็น .php เช่นไฟล์ test.php



เราจะต้องบันทึกไฟล์นี้ไว้ในเครื่อง Web Server ที่มีการติดตั้งโปรแกรมแปลภาษา PHP เมื่อเราเปิด Web Browser ไปที่ไฟล์ test.php โปรแกรมแปลภาษา php ก็จะทำการแปลคำสั่ง โดยจะแปลเฉพาะคำสั่งที่อยู่ระหว่าง เครื่องหมาย สร้างเป็นผลลัพธ์ออกมา เป็น

จะเห็นว่าส่วนที่อยู่นอกเครื่องหมาย นั้น จะมีค่าเหมือนเดิม

เอาหละค่ะ อันนี้เป็นเพียงหลักการคร่าว ๆ ของ php นะคะ ส่วนพรุ่งนี้เรามาupdate กันในเรื่องของประวัติของ php กันนะคะว่ะมีความเป็นมาอย่างไร รอติดตามกันนะคะ

เรามารู้จัก PHP กันดีกว่า...


PHP คืออะไร

ภาษา PHP เป็นภาษาโปรแกรมภาษาหนึ่ง ที่ใช้เขียนแทรกไว้ภายในเอกสาร ภาษาอื่น เช่น เขียนแทรก PHP ไว้ภายใน ภาษา HTML เพื่อทำให้สามารถประมวลผลเพื่อสร้างเนื้อหาได้แบบไดนามิก ในอดีตโดยเป้าหมายหลักของ PHP คือ เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเวบ (HTML) เท่านั้น แต่ในปัจจุบัน PHP ได้พัฒนาความสามารถมากขึ้น จนสามารถสร้างเอกสารไม่ไช่ HTML เช่น การสร้าง ภาพกราฟฟิก , สร้างเอกสาร PDF, สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Flash จนถึงมีการนำ PHP มาใช้ในการพัฒนาโปรแกรมที่ทำงานเป็น Application คล้ายกับ VB หรือ Delphi ที่ทำได้

PHP เป็นภาษาแบบ Script Language การประมวลผลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา PHP จึงจำเป็นต้องติดตั้งตัวแปลภาษา PHP ก่อน ซึ่งสามารถ Download และ ติดตั้งใช้งานได้ฟรี สำหรับตัวแปลภาษาของ PHP นั้นจะพัฒนาด้วยภาษาซี (C) คำสั่งภายในของ PHP จะถูกพัฒนาด้วยภาษา C เกือบทั้งหมด ดังนั้น ซึ่งโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา PHP จะไปเรียกใช้คำสั่งเหล่านั้น ทำให้โปรแกรมภาษา PHP ที่ถึงจะเป็นภาษา Script แต่ก็สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ไม่แพ้การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาอื่น นอกจากนี้ เกือบทุกระบบปฏิบัติการที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถติดตั้ง ตัวแปลภาษา PHP ได้ ทำให้โปรแกรมที่สร้างด้วยภาษา PHP สามารถทำงานได้บนทุกระบบ โดยแทบไม่ต้องแก้ไข เช่น คุณสามารถพัฒนาโปรแกรม PHP บน Windows แล้ว นำไปติดตั้งบน Linux ได้เลย

การเขียนโปรแกรม PHP ถูกออกแบบให้เขียนแทรกภายในเอกสาร HTML เพื่อใช้สร้างเวบเพจ ดังตัวอย่าง


อ๊ะอ้าว...อยากรู้หละสิว่าไอ้เจ้า php เนี่ย มันมีหลักการทำงานอย่างไร งั้นเอาไว้พรุ่งนี้ก็แล้วก็เนอะ เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังกันใหม่
สำหรับวันนี้ก็ขอจบเรื่องราวเกี่ยวกับ php ไว้เท่านี้ก่อนนะคะ ขอบคุณค่า

Friday, 20 November 2009

การชุมนุมของจานดาวเทียม



เมื่อวานเข้าไปดูเว็บบอร์ดเก็บตกจากฟอร์เวิร์ดเมล์ในเว็บสนุกมา มาเจอเข้ากับกระทู้อันนี้ ร้องจ๊าก! เลยเรา อ่ะปัดดิโธ้ ดาวเทียมอะหยั๋ง หยังมานักป่ะล้ำป่ะเหลื๋อ แล้วคนบนยอดตึกจะมองเห็นอะไรมั้ยนั่น 555 ขำขำค่ะวันนี้

Saturday, 14 November 2009

มาดูฝนดาวตกกัน



ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี จะเกิดปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonid Meteor shower) หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกอยู่บริเวณตำแหน่งหัวของสิงโต มีลักษณะเป็นริ้วสีขาวพาดผ่านท้องฟ้า และเกิดลูกไฟควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเกิดจากเศษซากหลงเหลือของ "ดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล" มีวงโคจรรอบ "ดวงอาทิตย์" เป็นวงรี โดยหนึ่งรอบใช้เวลา 33.2 ปี และทุก ๆ 33 ปี ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า "พายุฝนดาวตก" (Meteor Storm) ซึ่งการโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 และจะเข้าใกล้ครั้งต่อไปในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2556
สำหรับ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลกมากบ้างน้อยบ้าง โดยปีที่มองเห็นสูงสุดต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2541 และ 2544 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับในปี 2552 นักดาราศาสตร์พยากรณ์ว่า คนไทยทั่วทุกพื้นที่ของประเทศจะมีโอกาสชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์ นับร้อยดวงแบบชัด ๆ อีกครั้ง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 ต่อเนื่องไปจนถึงรุ่งเช้า 18 พฤศจิกายน เหตุเพราะเวลาเกิดปรากฏการณ์ตรงกับ "คืนเดือนมืด" พอดิบพอดี




โดยช่วงเวลาที่คาดว่าจะมองเห็น ฝนดาวตก ปะทะโลกสูงสุดในประเทศไทยมี 2 ช่วง คือในเวลา 04.43 น. และในเวลา 04.50 น. ของเช้าวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งจะเป็นได้มากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง แต่ถ้าโชคดีชาวโลกอาจได้เห็น ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ร่วม ๆ 500 ดวง พุ่งสว่างวาบบนฟากฟ้า แต่ประเทศไทยจะเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่คืนวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2552 โดยเริ่มในเวลาประมาณ 00:30 น. (เข้าสู่วันที่ 18) และหลังจากนั้นจึงลดลงและสิ้นสุดในราววันที่ 21 พฤศจิกายน

"นับเป็นความโชคดีที่จะได้ชมปรากฏ การณ์ฝนดาวตกในปีนี้ เนื่องจากวันที่ 17-18 พฤศจิกายน เป็นคืนเดือนมืด ท้องฟ้าค่อนข้างมืดสนิท แต่เหตุการณ์ฝนดาวตกช่วงที่ตกมากนั้นค่อนข้างสั้น และเกิดก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้น 1 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนการถ่ายภาพควรตั้งความไวแสง ISO 400-800 ถ้าใช้กล้องสองตาควรมีหน้าเลนส์ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร และกำลังขยาย 7 เท่าขึ้นไป" ประณิตา เสพปันคำ เจ้าหน้าที่สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. ระบุ
สถานที่ที่เหมาะสมกับการดู ฝนดาวตก ถ้าจะให้ดีควรเป็นจุดที่ไม่มีแสงไฟรบกวน หรือห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หันหน้าไปทางดาวเหนือ ซึ่งสถานที่ที่สามารถไปชมปรากฎการณ์ ฝนดาวตก นี้ได้แบบอิงแอบธรรมชาติ ได้แก่...

จังหวัดเพชรบูรณ์ ณ ลานชมดาวอุทยานแห่งชาติตากหมอก, ภูทับเบิก, เขาค้อ, อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และบริเวณลานดูดาว อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ในคืนวันที่17 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงเช้ามืดวันที่ 18 พฤศจิกายน

จังหวัดปราจีนบุรี ณ อุทยานเขาอีโต้ เหนือสันเขื่อนเก็บน้ำจักรพงษ์ ติดกับสนามแข่งจักรยานเสือภูเขา ตำบลบ้านพระ ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเช้ามืดของวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552

จังหวัดลพบุรี ณ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และแหล่งท่องเที่ยวอ่างซับเหล็ก ในวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเช้ามืดของวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552 เนื่องจากเป็นที่โล่ง กว้าง ไม่มีแสงไฟรบกวน และยังมีการตั้งกล้องดูดาวอยู่ที่วัดเขาจีนแล (วัดเวฬุวัน) ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา ห่างจากอ่างซับเหล็กประมาณ 2 กิโลเมตร นอกจากนั้น ยังเป็นช่วงเดียวกับดอกทานตะวันที่กำลังบานเต็มทุ่งอยู่สองข้างทาง โดยเฉพาะบริเวณหลังอ่างซับเหล็ก หรือบริเวณวัดเขาตะกร้า เช่นเดียวกับเส้นทางมุ่งสู่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก็มีดอกทานตะวันบานแล้วหลายทุ่งเช่นกัน

จังหวัดอุบลราชธานี โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี ขอเชิญชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552 นี้ โดยฝนดาวตก ลีโอนิดส์เห็นได้ 2 ช่วง คือวันที่ 16 - 17 และ 18 - 19 เห็นได้เฉลี่ยชั่วโมงละ 10 - 20 ดวง

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดมหกรรมดาราศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ที่วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2552 โดยจัดกิจกรรมนิทรรศการต่าง ๆ มากมาย เช่น 400 ปีแห่งการค้นพบทางดาราศาสตร์ วิวัฒนาการกล้องโทรทรรศน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นิทรรศการภาพถ่ายทางดาราศาสตร์โดยฝีมือคนไทย นอกจากนี้ กิจกรรมสาธิตการประกอบนาฬิกาแดด การประกวดวาดภาพทางดาราศาสตร์ และโดยเฉพาะในคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน จะมีกิจกรรมให้ประชาชนได้เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิสต์ จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้

อย่างไรก็ตาม สำหรับในภูมิภาคต่าง ๆ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้ร่วมมือกับหน่วยงาน และมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั่วประเทศ จัดกิจกรรมติดตาม "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" หลายแห่ง เช่น... ภาคกลาง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาคตะวันออก : อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ อ.เมือง จ. ปราจีนบุรี, โรงเรียนชลราษฎรอำรุง อ.เมือง จ. ชลบุรี, โรงเรียน เบญจมราชรังสฤษฏิ์ อ.เมือง และโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา อ.แปลงยาว จ. ฉะเชิงเทรา

ภาคเหนือ : มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

ภาคใต้ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ , มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

สำหรับข้าพเจ้าก็คงจะไปดูฝนดาวตกกับเพื่อนๆ ของข้าพเจ้า ที่ภูหินฯ ล่ะก้า ไปด้วยกันบ่?


ขอขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com นะคะ

Sunday, 8 November 2009

Image Processing...Digital Image Processing???

Image Processing คือ การเอาภาพมาประมวลผล เอามาคิดคำนวณทางคอมพิวเตอร์ การคิดคำนวณนั้นมีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีประโยชน์แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาสีแต่ละจุด (Pixel)มาคิด (Color), การคิดคำนวณเป็นบริเวณหลายๆจุดรวมๆกัน(Area) เช่น การดูลวดลาย(Pattern, Texture), การวิเคราะห์หารูปร่าง (Shape) และการวิเคราะห์แบบอื่นๆ พูดง่ายๆคือ การเอาภาพมาคิดคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าภาพนั้นคือภาพอะไร หรือมีสิ่งที่สนใจอยู่ในภาพหรือไม่ โดยที่ไม่ต้องใช้สายตาของคนมาช่วยตัดสินค่ะ
แหล่งของรูปภาพนั้นอาจจะมาจากกล้องดิจิตอล สแกน หรือจากสื่อดิจิตอลต่างๆ แล้วนำไปผ่านกระบวนการบางอย่างเพื่อให้เกิดเป็นภาพใหม่ เช่น การทำภาพเบลอ (Blued Image) การทำภาพนูน (Emboss Image) การตรวจหาขอบภาพ (Edge Detector) ซึ่งศาสตร์ด้านนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายด้าน เช่น ทางด้านการแพทย์ การรักษาความปลอดภัย ตรวจนับจำนวนคน หรือตรวจสอบการเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ ภายในภาพ

การประมวลผลภาพดิจิทัล (digital image processing) เป็นสาขาที่กล่าวถึงเทคนิคและอัลกอริทึมต่างๆ ที่ใช้การประมวลผลภาพที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล(ภาพดิจิทัล) ภาพในที่นี้ รวมความหมายถึงสัญญาณดิจิทัลใน 2 มิติอื่นๆ โดยทั่วไปคำนี้เมื่อใช้อย่างกว้างๆ จะครอบคลุมถึงสัญญาณวีดิโอ (video) หรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นชุดของภาพนิ่ง เรียกว่า เฟรม (frame) หลายๆภาพต่อกันไปตามเวลา ซึ่งก็คือสัญญาณ 3 มิติ เมื่อนับเวลาเป็นมิติที่ 3 หรือ อาจจะครอบคลุมถึงสัญญาณ 3 มิติอื่นๆ เช่น ภาพ 3 มิติทางการแพทย์ หรือ อาจจะมากกว่านั้น เช่น ภาพ 3 มิติ และ หลายชนิด (multimodal image)

Thursday, 5 November 2009

Open Layers??

เมื่อวานเราพูดถึงเรื่อง KML&KMZ ไปแล้วนะ เอาล่ะวันนี้เราก็มาพูดถึงเรื่อง Open Layers กันบ้างนะ
...............
ระบบ Open Web Service (OWS) อันประกอบด้วย
1.1 Web Mapping Service (WMS) คือส่วนที่ให้บริการข้อมูลในส่วนของข้อมูลภาพ อันได้แก่ภาพถ่ายดาวเทียมภาพถ่ายทางอากาศ
1.2 Web Feature Service (WFS) คือส่วนที่ให้บริการข้อมูลในส่วนของข้อมูลที่เป็น Vector
ในโลกของเครือข่าย Internet เท่าที่ลองหาดู มีหลายที่เช่น Google maps, Ms virtual earth,yahoo ฯลฯ ล้วนแต่ให้บริการแผนที่ OWS
ฉะนั้น จะมีทางไหมที่เราจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ร่วม ภายใต้ API ตัวเดียวกัน

"Open Layers" คือคำตอบค่ะ ที่จะทำให้เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาอยู่ร่วมกัน โดย Open Layers ใช้เทคโนโลยี JAVA การที่ OpenLayers ใช้เทคโนโลยี JAVA ทำให้สามารถสนับสนุน เทคโนโลยี AJAX ยิ่งทำให้ OpenLayers เป็น API ที่น่าสนใจยิ่งขึ้นค่ะ
ลองดูตัวอย่าง การใช้ API OpenLayers ได้ที่ ตัวอย่างการจัดการ ข้อมูล Open Web Service ด้วยเทคโนโลยี OpenLayers และศึกษา OpenLayers ได้ที่ http://openlayers.org/
สำหรับวันนี้ก็ขอจบเรื่องราวแบบคร่าว ๆของ Open Layers ไว้เท่านี้ก่อนนะคะ
เดี๋ยวพอมีข่าวคราวใหม่จะมา Update ให้ดูกันนะ

Wednesday, 4 November 2009

KML KMZ???

เมื่อวานนี้หลังจากเรียนวิชาอินเตอร์เน็ตกับ อ.เหมียวเสร็จแล้วก็มานั่งค้น ๆดูอ่ะนะ ว่า KML กับ KMZ นี่มันคืออะไรกัน.....และแล้วก็ได้คำตอบ
KML หรือ Keyhole Markup Language คือไวยากรณ์และรูปแบบไฟล์ XML สำหรับการทำโมเดลและการจัดเก็บคุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น จุด เส้น ภาพ รูปหลายเหลี่ยม และโมเดลสำหรับแสดงใน Google Earth และ Google Maps เราสามารถใช้ KML เพื่อเผยแพร่สถานที่และข้อมูลกับผู้ใช้แอปพลิเคชันรายอื่นๆ ได้ เราสามารถหาไฟล์ตัวอย่าง KML บนห้องแสดงภาพ KML ไซต์ชุมชน Google Earth ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะและสถานที่ที่น่าสนใจ
ไฟล์ KML ได้รับการประมวลผลโดย Google Earth ด้วยวิธีเดียวกับที่ไฟล์ HTML และ XML ได้รับการประมวลผลโดยเว็บเบราว์เซอร์ เช่นเดียวกับ HTML KML มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นแท็ก ที่มีชื่อและแอตทริบิวต์ที่ใช้เฉพาะสำหรับการแสดงผล ดังนั้น Google Earth จึงทำงานเช่นเดียวกับเบราว์เซอร์ของไฟล์ KML

Google Maps สามารถแสดงคุณลักษณะของ KML ได้เฉพาะบางอย่าง
ส่วนไฟล์ KMZ คือไฟล์ KML ในเวอร์ชันบีบอัด Google Earth สามารถเปิดไฟล์ KML และ KMZ ถ้าไฟล์เหล่านี้มีนามสกุึลของไฟล์ถูกต้อง (.kml or .kmz)
เท่าๆ ที่ดูๆ มาก็มีประมาณนี้อ่ะนะ เดี๋ยววันหลังจะมา Update เรื่องใหม่ ๆ ละกันนะ

Tuesday, 3 November 2009

Windows 7 (ภาค 2)

สำหรับเมื่อวานก็ได้บอกไปถึงข้อดีบางส่วนของ Windows 7 ไปบางส่วนแล้ว
วันนี้ก็มาดูถึงข้อด้อยของ Window 7 กันบ้างนะ

สำหรับข้อด้อยของ Window 7 ก็จะมี
- ใช้พื้นที่ฮาร์ดดิสในการติดตั้งค่อนข้างมาก(ประมาณ 9 - 11GB)
- ใช้แรมเยอะมั่ก
- โปรแกรมที่ใช้บนWindows XP อาจใช้ไม่ได้บน Windows 7 (ต้องมีประสบการณ์ในการใช้วิสต้า)
- Driver Hardware มีน้อย และต้องรอให้Windows updateให้ อาจใช้ไม่ได้กับเครื่องรุ่นเก่าบางรุ่น
- อาจมี bug IE8 beta บ้างในบางเว็ปไซต์, ต้องแก้ปัญหาภาษาไทยโดยยกเลิก Front style
สำหรับปัญหาหรือว่าข้อด้อยนี้เท่าที่พอหา ๆ มา ก็มีประมาณนี้อ่ะนะ ยังไงก็ลองเอาไปใช้เล่นดูกันนะ

Monday, 2 November 2009

Windows 7 (ภาค 1)

เมื่อวานนั่งอ่านข่าวไปเรื่อย ๆ ก็เผอิญเปิดมาเจอ นี่เลย Windows 7 เป็นวินโดว์รุ่นใหม่ล่าสุดเลยจากเครือไมโครซอฟต์
ถ้าจะถามว่า Windows 7 คืออะไร ก็จะสามารถบอกได้เลยว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้พีซีของเรา-เรา ใช้งานได้ดีและง่ายมากขึ้น ในการค้นหาและจัดการกับแฟ้ม มีแถบงานใหม่ที่ถูกปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการสนับสนุนรุ่น 64 บิด เราก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สำหรับตัววินโดว์ 7 นอกจากจะมีข้อดีเยอะแยะแล้วก็ยังไม่วายมีข้อด้อย (เช่นเคย)อยู่

สำหรับจุดเด่นของวินโดว์ 7 นี้ก็จะมี
- มีของเล่นใหม่น่าตื่นเต้น
- ติดตั้งง่าย
- เสถียรดีเหมือนเป็น PS1 แล้ว
- น่าใช้งานกว่า Windows vista เดิมมาก
- ใช้เวลาในการ Boot เร็วกว่าเดิม
- ใช้ Driver ของ Vista ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เต็มประสิทธิภาพ

T_T......แง่วววว
อาจารย์มาสอนละ ขอตัวไปเรียนก่อนก็แล้วกัน เดี๋ยวเอาไว้จะมาอัพข้อดีและข้อด้อยอีกก็แล้วกัน

Sunday, 1 November 2009

ฮัลโหล เทสๆๆๆ

วันนี้เข้ามาลองสร้าง Blog เป็นของตัวเองครั้งแรกในชีวิต...


เอาไว้เผื่อถ้ามีอะไรๆ จะได้เข้ามา Update ข่าวสารใหม่ ๆ กะเค้าบ้าง


ไงก็รอติดตามดูนะค๊า