ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี จะเกิดปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonid Meteor shower) หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกอยู่บริเวณตำแหน่งหัวของสิงโต มีลักษณะเป็นริ้วสีขาวพาดผ่านท้องฟ้า และเกิดลูกไฟควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเกิดจากเศษซากหลงเหลือของ "ดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล" มีวงโคจรรอบ "ดวงอาทิตย์" เป็นวงรี โดยหนึ่งรอบใช้เวลา 33.2 ปี และทุก ๆ 33 ปี ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า "พายุฝนดาวตก" (Meteor Storm) ซึ่งการโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 และจะเข้าใกล้ครั้งต่อไปในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2556
สำหรับ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลกมากบ้างน้อยบ้าง โดยปีที่มองเห็นสูงสุดต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2541 และ 2544 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับในปี 2552 นักดาราศาสตร์พยากรณ์ว่า คนไทยทั่วทุกพื้นที่ของประเทศจะมีโอกาสชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์ นับร้อยดวงแบบชัด ๆ อีกครั้ง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 ต่อเนื่องไปจนถึงรุ่งเช้า 18 พฤศจิกายน เหตุเพราะเวลาเกิดปรากฏการณ์ตรงกับ "คืนเดือนมืด" พอดิบพอดี
สำหรับ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลกมากบ้างน้อยบ้าง โดยปีที่มองเห็นสูงสุดต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2541 และ 2544 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับในปี 2552 นักดาราศาสตร์พยากรณ์ว่า คนไทยทั่วทุกพื้นที่ของประเทศจะมีโอกาสชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์ นับร้อยดวงแบบชัด ๆ อีกครั้ง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 ต่อเนื่องไปจนถึงรุ่งเช้า 18 พฤศจิกายน เหตุเพราะเวลาเกิดปรากฏการณ์ตรงกับ "คืนเดือนมืด" พอดิบพอดี
โดยช่วงเวลาที่คาดว่าจะมองเห็น ฝนดาวตก ปะทะโลกสูงสุดในประเทศไทยมี 2 ช่วง คือในเวลา 04.43 น. และในเวลา 04.50 น. ของเช้าวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งจะเป็นได้มากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง แต่ถ้าโชคดีชาวโลกอาจได้เห็น ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ร่วม ๆ 500 ดวง พุ่งสว่างวาบบนฟากฟ้า แต่ประเทศไทยจะเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่คืนวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2552 โดยเริ่มในเวลาประมาณ 00:30 น. (เข้าสู่วันที่ 18) และหลังจากนั้นจึงลดลงและสิ้นสุดในราววันที่ 21 พฤศจิกายน
"นับเป็นความโชคดีที่จะได้ชมปรากฏ การณ์ฝนดาวตกในปีนี้ เนื่องจากวันที่ 17-18 พฤศจิกายน เป็นคืนเดือนมืด ท้องฟ้าค่อนข้างมืดสนิท แต่เหตุการณ์ฝนดาวตกช่วงที่ตกมากนั้นค่อนข้างสั้น และเกิดก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้น 1 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนการถ่ายภาพควรตั้งความไวแสง ISO 400-800 ถ้าใช้กล้องสองตาควรมีหน้าเลนส์ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร และกำลังขยาย 7 เท่าขึ้นไป" ประณิตา เสพปันคำ เจ้าหน้าที่สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. ระบุ
สถานที่ที่เหมาะสมกับการดู ฝนดาวตก ถ้าจะให้ดีควรเป็นจุดที่ไม่มีแสงไฟรบกวน หรือห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หันหน้าไปทางดาวเหนือ ซึ่งสถานที่ที่สามารถไปชมปรากฎการณ์ ฝนดาวตก นี้ได้แบบอิงแอบธรรมชาติ ได้แก่...
สถานที่ที่เหมาะสมกับการดู ฝนดาวตก ถ้าจะให้ดีควรเป็นจุดที่ไม่มีแสงไฟรบกวน หรือห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หันหน้าไปทางดาวเหนือ ซึ่งสถานที่ที่สามารถไปชมปรากฎการณ์ ฝนดาวตก นี้ได้แบบอิงแอบธรรมชาติ ได้แก่...
จังหวัดเพชรบูรณ์ ณ ลานชมดาวอุทยานแห่งชาติตากหมอก, ภูทับเบิก, เขาค้อ, อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และบริเวณลานดูดาว อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ในคืนวันที่17 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงเช้ามืดวันที่ 18 พฤศจิกายน
จังหวัดปราจีนบุรี ณ อุทยานเขาอีโต้ เหนือสันเขื่อนเก็บน้ำจักรพงษ์ ติดกับสนามแข่งจักรยานเสือภูเขา ตำบลบ้านพระ ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเช้ามืดของวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552
จังหวัดลพบุรี ณ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และแหล่งท่องเที่ยวอ่างซับเหล็ก ในวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเช้ามืดของวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552 เนื่องจากเป็นที่โล่ง กว้าง ไม่มีแสงไฟรบกวน และยังมีการตั้งกล้องดูดาวอยู่ที่วัดเขาจีนแล (วัดเวฬุวัน) ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา ห่างจากอ่างซับเหล็กประมาณ 2 กิโลเมตร นอกจากนั้น ยังเป็นช่วงเดียวกับดอกทานตะวันที่กำลังบานเต็มทุ่งอยู่สองข้างทาง โดยเฉพาะบริเวณหลังอ่างซับเหล็ก หรือบริเวณวัดเขาตะกร้า เช่นเดียวกับเส้นทางมุ่งสู่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก็มีดอกทานตะวันบานแล้วหลายทุ่งเช่นกัน
จังหวัดอุบลราชธานี โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี ขอเชิญชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552 นี้ โดยฝนดาวตก ลีโอนิดส์เห็นได้ 2 ช่วง คือวันที่ 16 - 17 และ 18 - 19 เห็นได้เฉลี่ยชั่วโมงละ 10 - 20 ดวง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดมหกรรมดาราศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ที่วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2552 โดยจัดกิจกรรมนิทรรศการต่าง ๆ มากมาย เช่น 400 ปีแห่งการค้นพบทางดาราศาสตร์ วิวัฒนาการกล้องโทรทรรศน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นิทรรศการภาพถ่ายทางดาราศาสตร์โดยฝีมือคนไทย นอกจากนี้ กิจกรรมสาธิตการประกอบนาฬิกาแดด การประกวดวาดภาพทางดาราศาสตร์ และโดยเฉพาะในคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน จะมีกิจกรรมให้ประชาชนได้เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิสต์ จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้
อย่างไรก็ตาม สำหรับในภูมิภาคต่าง ๆ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้ร่วมมือกับหน่วยงาน และมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั่วประเทศ จัดกิจกรรมติดตาม "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" หลายแห่ง เช่น... ภาคกลาง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาคตะวันออก : อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ อ.เมือง จ. ปราจีนบุรี, โรงเรียนชลราษฎรอำรุง อ.เมือง จ. ชลบุรี, โรงเรียน เบญจมราชรังสฤษฏิ์ อ.เมือง และโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา อ.แปลงยาว จ. ฉะเชิงเทรา
ภาคเหนือ : มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
ภาคใต้ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ , มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
สำหรับข้าพเจ้าก็คงจะไปดูฝนดาวตกกับเพื่อนๆ ของข้าพเจ้า ที่ภูหินฯ ล่ะก้า ไปด้วยกันบ่?
ขอขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com นะคะ
thanks for sharing:
ReplyDelete