หลักการของเครื่อง GPS คือ การคำนวณระยะทางระหว่างดาวเทียมกับอุปกรณ์รับ GPS โดยจะต้องทราบตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง ประกอบกับได้ระยะทางจากดาวเทียม 3 ดวง ขึ้นไปแล้ว อุปกรณ์ GPS ก็จะสามารถคำนวน หาจุดตัดกันของผิวทรงกลม ของระยะทางของดาวเทียม GPS แต่ละดวงได้
ดังนั้น ในทางทฤษฏี สิ่งที่อุปกรณ์ GPS จำเป็นต้องทราบในการคำนวนหาตำแหน่งแต่ละครั้ง คือ
1. ตำแหน่ง ดาวเทียม GPS ในอวกาศ อย่างน้อย 3 ดวง
2. ระยะห่างจาก ดาวเทียม GPS แต่ละดวง
โดยการจะได้มาซึ่ง ข้อมูลทั้ง 2แบบ ในทางปฏิบัติ คือ
1.การได้มา ซึ่ง ตำแหน่งดาวเทียม GPS ในอวกาศ
การได้มา ซึ่งตำแหน่งดาวเทียม GPS ในอวกาศ จะต้องได้มีข้อมูลประกอบ 2 ตัว คือ
a. ข้อมูลวงโคจร : จะทำให้อุปกรณ์ GPS ทราบว่า เส้นทางการเดินทางของดาวเทียม GPS แต่ละดวงจะอยู่ ณ ตำแหน่งใด เมื่ไร
b. เวลาปัจจุบัน : ซึ่งเมื่ออุปกณ์ GPS ทราบ เวลาปัจจุบัน แล้ว ก็จะใช้เวลาปัจจุบัน ไปคำนวนหาตำแหน่ง ของดาวเทียม GPS จากข้อมูลวงโคจรได้
ดังนั้น เมื่ออุปกรณ์รับ GPS ทราบ ข้อมูลวงโคจร ดาวเทียม GPS และเวลาปัจจุบัน อุปกรณ์รับ GPS ก็จะทราบตำแหน่ง ดาวเทียมในอวกาศได้ ซึ่งข้อมูลทั้งหมด จะได้มาจากสัญญาณดาวเทียมที่อุปกรณ์รับ GPS ตัวนั้นรับได้
2. การได้มา ซึ่ง ระยะห่างของอุปกรณ์รับ GPS กับ ดาวเทียม GPS แต่ละดวง
เนื่องจาก การเตินทางของคลื่นสัญญาณ GPS นั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่(vคงที่) คือ ความเร็วแสง (186,000ไมล์ต่อวินาที) ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น ถ้าอุปกรณ์รับ GPS รู้ระยะเวลา(t) ที่สัญญาณใช้ในการเดินทางจาก ดาวเทียม GPS มายังอุปกรณ์รับ GPS ก็จะสามารถคำนวนระยะทางระหว่าง ดาวเทียม GPS กับ อุปกรณ์รับ GPS ได้ จากสูตร
ความเร็ว X เวลา = ระยะทาง
ซึ่งเมื่อเราทราบระยะห่างของดาวเทียมกับอุปกรณ์ GPS มากเท่าไร เราก็จะหาจุดของผิวทรงกลม ทำให้อุปกรณ์ GPS สามารถทราบว่าตัวเองอยู่นะจุดใดบนพื้นโลกได้ เช่น
ดาวเทียม GPS 1 : ลอยอยู่ ณ จุดหนึ่งในอวกาศ ซึ่งเรารู้ตำแหน่ง จากข้อมูลวงโคจร GPS และ เวลาปัจจุบัน ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 1 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.10 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 1 คือ 18,600 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.10 วินาที = 18,600 ไมล์)
ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นจุดใดๆ ก็ได้ บนผิวทรงกลมที่มีรัศมี 18,600 ไมล์
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส
ดาวเทียม GPS 2 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 2 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.08 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 2 คือ 13,200 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.08 วินาที = 13,200 ไมล์)
ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นจุดใดๆ ก็ได้ บนเส้นรอบวงที่เป็นการตัดกันของ ทรงกลมรัศมี 18,600ไมล์ ของดาวเทียม GPS 1 กับ ทรงกลมรัศมี 13,200ไมล์ ของดาวเทียม GPS 2
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส 2 วง
ดาวเทียม GPS 3 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 3 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.06 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 3 คือ 11,160 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.06 วินาที = 11,160 ไมล์)
ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นได้แค่ 2 จุด ที่เกิดจากจุดตัดของ ผิวทรงกลมรัศมี 18,600ไมล์ ของดาวเทียม GPS 1 กับ ผิวทรงกลมรัศมี 13,200ไมล์ ของดาวเทียม GPS 2 และ ผิวทรงกลมรัศมี 11,160 ไมล์ ของดาวเทียม GPS3
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส 3 วง
ดังนั้น หากอุปกรณ์ GPS ยิ่งสามารถรับสัญญาณจากดาวเทียม GPS มากดวงเท่าไร ก็จะยิ่งสามารถ ระบุตำแหน่งได้แม่นยำยิ่งขึ้น
ในกรณี ที่อุปกรณ์รับ GPS สามารถรับสัญญาณ GPS ได้จากดาวเทียม GPS เพียง 3 ดวง อุปกรณ์รับ GPS จะมีความสามารถในการประมาณตำแหน่งบนพื้นโลกได้ และจะตัดจุดที่ไม่ใช่ตำแหน่งบนพื้นโลกทิ้งไป ทำให้เหลือเพียงตำแหน่งแหน่งเดียวที่เป็นไปได้
จะเห็นได้ว่าจะเหลือตำแหน่งอยู่ 2 จุดที่บริเวณวงกลมทั้ง 3 ตัดกันคือตำแหน่งที่ อยู่ในอวกาศซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถไปอยู่ในอวกาศได้ตำแหน่งนี้จะถูกตัดทิ้งอัตโนมัติ โดยเครื่อง GPS อีกตำแหน่งคือตำแหน่งบนพื้นโลกซึ่งเป็นตำแหน่งที่เรายืนถือเครื่อง GPS อยู่นั้นเองซึ่งความถูกต้องแม่นยำของตำแหน่งก็ขึ้นกับจำนวนดาวเทียมที่สามารถรับ สัญญาณ ได้ในขณะนั้นหากมีมากกว่า 3 ดวงก็จะละเอียดมากขึ้น และก็ขึ้นกับเครื่อง GPS ด้วย หากเป็นเครื่องที่มีราคาแพง ( ซึ่งมักใช้เฉพาะงาน) ก็จะมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
Thanks for: http://www.gpsdeedee.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538825826
Friday, 26 February 2010
GPS คืออะไร
GPS ย่อมาจาก Global Positioning System หรือ "ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก"
ชื่อเต็มของระบบนี้คือ NAVSTAR Global Positioning System คำว่า NAVSTAR เป็นอักษรย่อมาจาก Navigation Satellite Timing and Ranging ภาคของคำว่าดาวเทียมสำหรับนำร่อง คือระบบที่ระบุตำแหน่งทุกแห่งบนโลก
เป็นระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณพิกัด จากดาวเทียมระบุตำแหน่ง จำนวน 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก ในระดับสูงประมาณ 20,000 กิโลเมตร ทำให้สามารถชี้บอกตำแหน่งได้ทุกแห่งบนโลกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
จากความสามารถดังกล่าว ทำให้ระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ในการบอกตำแหน่งบนพื้นโลก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับประชาชนทั่วไป เพราะเดิมทีระบบ GPS เป็นระบบที่ถูกใช้งานการทหารของ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา เท่านั้น
ด้วยความสามารถของ GPS ทำให้เราสามารถนำข้อมูลตำแหน่งมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น
1. 1. GPS หาตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นโลกของเรา ป้องกันการหลงทาง, ในการหาจุดอ้างอิงต่างๆ เช่น ร้านอาหารโปรด สถานีตำรวจ
2. GPS ใช้ในการแนะนำเส้นทางไปยังจุดต่างๆ บนโลก ดังที่เราเรียกว่า “ระบบนำทาง” หรือ “Navigator” ซึ่งมีให้กันใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
3. ใช้ในการติดตามบุคคล หรือ ติดตามยานพาหนะ เพื่อใช้ในการตรวจสอบเส้นทางการเดินทาง ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่จะสามารถประยุกต์ใช้งานได้มากมาย กับระบบ GPS
Thanks http://www.gpsdeedee.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538768601&Ntype=1
ชื่อเต็มของระบบนี้คือ NAVSTAR Global Positioning System คำว่า NAVSTAR เป็นอักษรย่อมาจาก Navigation Satellite Timing and Ranging ภาคของคำว่าดาวเทียมสำหรับนำร่อง คือระบบที่ระบุตำแหน่งทุกแห่งบนโลก
เป็นระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณพิกัด จากดาวเทียมระบุตำแหน่ง จำนวน 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก ในระดับสูงประมาณ 20,000 กิโลเมตร ทำให้สามารถชี้บอกตำแหน่งได้ทุกแห่งบนโลกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
จากความสามารถดังกล่าว ทำให้ระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ในการบอกตำแหน่งบนพื้นโลก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับประชาชนทั่วไป เพราะเดิมทีระบบ GPS เป็นระบบที่ถูกใช้งานการทหารของ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา เท่านั้น
ด้วยความสามารถของ GPS ทำให้เราสามารถนำข้อมูลตำแหน่งมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น
1. 1. GPS หาตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นโลกของเรา ป้องกันการหลงทาง, ในการหาจุดอ้างอิงต่างๆ เช่น ร้านอาหารโปรด สถานีตำรวจ
2. GPS ใช้ในการแนะนำเส้นทางไปยังจุดต่างๆ บนโลก ดังที่เราเรียกว่า “ระบบนำทาง” หรือ “Navigator” ซึ่งมีให้กันใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
3. ใช้ในการติดตามบุคคล หรือ ติดตามยานพาหนะ เพื่อใช้ในการตรวจสอบเส้นทางการเดินทาง ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่จะสามารถประยุกต์ใช้งานได้มากมาย กับระบบ GPS
Thanks http://www.gpsdeedee.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538768601&Ntype=1
Wednesday, 17 February 2010
การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขเพื่อผลิตแผนที่
การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขเพื่อผลิตแผนที่Digital Photogrammetry for Mapการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศจะมีการทำงานอยู่ 3 รูปแบบ [1] คือ แบบกระทำด้วยมือ (Analog) แบบใช้เครื่องมือวิเคราะห์ (Analytical) และแบบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Digital) ในกระบวนการทำแผนที่ด้วยภาพถ่ายทางอากาศจำเป็นต้องทราบตำแหน่งของวัตถุต่างๆ บนภาพถ่ายที่สัมพันธ์กับพื้นดินเพื่อให้ตำแหน่งของวัตถุบนภาพมีความถูกต้องสูงและเชื่อถือได้ก่อนนำไปสร้างเป็นแผนที่เชิงเลขที่แสดงผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือทำแผนที่จากฟิลม์ อีกทั้งยังสามารถใช้การซ้อนทับระหว่างการถ่ายภาพทางอากาศที่มีค่าร้อยละ 60 ไปสร้างเป็นแผนที่สามมิติได้อีกด้วย ดังนั้นการสำรวจภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขจึงมีขั้นตอนและรายละเอียดที่ซับซ้อนและต้องมีความรู้ในกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องสูงเหมาะสมกับการนำไปใช้
งานกระบวนการสร้างแผนที่จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขจึงมีขั้นตอน 6 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
1. การวางแผนและกำหนดพื้นที่ถ่ายภาพบริเวณที่ต้องการ
2. ถ่ายภาพและแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของเชิงเลข
3. ปรับแก้ภาพถ่ายให้เป็นภาพถ่ายดิ่งจริง
4. กำหนดแผนที่ฐานและหมุดควบคุมของภูมิประเทศที่ถ่ายภาพ
5. ประมวลผลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพถ่ายทางอากาศและพื้นดิน
6. สร้างแผนที่และจัดพิมพ์
งานกระบวนการสร้างแผนที่จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขจึงมีขั้นตอน 6 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
1. การวางแผนและกำหนดพื้นที่ถ่ายภาพบริเวณที่ต้องการ
2. ถ่ายภาพและแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของเชิงเลข
3. ปรับแก้ภาพถ่ายให้เป็นภาพถ่ายดิ่งจริง
4. กำหนดแผนที่ฐานและหมุดควบคุมของภูมิประเทศที่ถ่ายภาพ
5. ประมวลผลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพถ่ายทางอากาศและพื้นดิน
6. สร้างแผนที่และจัดพิมพ์
การสุ่มตัวอย่างซ้ำ (Resampling)
การสุ่มตัวอย่างซ้ำ หรือ Resampling เป็นกระบวนการปรับแก้ค่าระดับสีเทาหรือเป็นการสร้างข้อมูลภาพใหม่หลังจากการแก้ไขด้านตำแหน่งของข้อมูลดาวเทียมแล้ว ขนาดและตำแหน่งของจุดภาพจะเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องปรับค่าระดับสีเทาของข้อมูลใหม่โดยการ Resampling Interpolation เพื่อให้ได้ค่าระดับค่าสีเทาที่สอดคล้องกับตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงวิธี Resampling หรือการสร้างจุดภาพใหม่ ขนาดของจุดภาพ (Pixel size) ใหม่อาจจะมีขนาดเท่าเดิมหรือเปลี่ยนแปลงก็ได้ ทั้งนี้
ขึ้นกับการกำหนดของผู้ใช้ สำหรับการแทนค่าตัวเลขลงในจุดภาพใหม่มี 3 วิธี คือ
(1) Nearest neighbor substitution เป็นวิธีแทนด้วยค่าระดับสีเทาของจุดภาพเดิมที่อยู่ใกล้ที่สุดกับจุดภาพที่ทำการสุ่มตัวอย่างซ้ำ วิธีนี้ค่อนข้างง่ายและใช้เวลาในการคำนวณน้อย แต่ให้ความถูกต้องไม่สูงนัก
(2) Bilinear interpolation เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงเส้นคู่ โดยการสมมุติให้ค่าความต่างระหว่างจุดภาพเดิม 4 จุดภาพ
(3) Cubic convolution ค่อนข้างจะซับซ้อนและใช้เวลาในการประมวลผลนานกว่า 2 วิธีแรก จะใช้ค่าระดับสีเทาของจุดภาพที่อยู่ใกล้ชิดกับจุดภาพที่จะทำการสุ่มตัวอย่างซ้ำจำนวน 9 หรือ 16 จุดภาพในการคำนวณค่าใหม่ วิธีนี้จะสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะโพลีโนเมียลระดับสูง (มากกว่า 1st order)ในการดำเนินการในลักษณะนี้ข้อมูลจะได้ระบบการกรองหรือเฉลี่ยให้เรียบขึ้นตามปริมาณจุดภาพเดิมที่ใช้ ซึ่งในกรณีที่ผู้ใช้จะต้องทำการปรับภาพให้คมชัด (Sharp) ก็อาจจะเลือกใช้วิธี Nearest neighbor substitution แล้วจึงทำการปรับภาพให้เรียบด้วยซอฟต์แวร์ในภายหลัง ซึ่งจะง่ายและประหยัดเวลามาก สำหรับวิธี Bilinear interpolation ภาพใหม่ที่ได้จะมีเนื้อภาพเรียบ (Smooth) แต่จะใช้เวลาในการคำนวณนานกว่าวิธีวิธี Nearest neighbor ในขณะที่วิธี Cubic convolution จะให้ภาพที่มีลักษณะเนื้อภาพคมชัดขึ้น (ภาพที่ 6.13) แต่จะใช้เวลาในการคำนวณนานกว่า 2 วิธีแรก และค่าระดับสีเทาที่ได้ในแต่ละจุดภาพอาจจะแตกต่างไปจากจุดภาพเดิมมาก เพราะได้จากการคำนวณของจุดภาพข้างเคียง อย่างไรก็ดีในการที่จะเลือกวิธีการสร้างจุดภาพใหม่ด้วยวิธีใดจะขึ้นกับการวินิจฉัยของผู้ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน
ขึ้นกับการกำหนดของผู้ใช้ สำหรับการแทนค่าตัวเลขลงในจุดภาพใหม่มี 3 วิธี คือ
(1) Nearest neighbor substitution เป็นวิธีแทนด้วยค่าระดับสีเทาของจุดภาพเดิมที่อยู่ใกล้ที่สุดกับจุดภาพที่ทำการสุ่มตัวอย่างซ้ำ วิธีนี้ค่อนข้างง่ายและใช้เวลาในการคำนวณน้อย แต่ให้ความถูกต้องไม่สูงนัก
(2) Bilinear interpolation เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงเส้นคู่ โดยการสมมุติให้ค่าความต่างระหว่างจุดภาพเดิม 4 จุดภาพ
(3) Cubic convolution ค่อนข้างจะซับซ้อนและใช้เวลาในการประมวลผลนานกว่า 2 วิธีแรก จะใช้ค่าระดับสีเทาของจุดภาพที่อยู่ใกล้ชิดกับจุดภาพที่จะทำการสุ่มตัวอย่างซ้ำจำนวน 9 หรือ 16 จุดภาพในการคำนวณค่าใหม่ วิธีนี้จะสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะโพลีโนเมียลระดับสูง (มากกว่า 1st order)ในการดำเนินการในลักษณะนี้ข้อมูลจะได้ระบบการกรองหรือเฉลี่ยให้เรียบขึ้นตามปริมาณจุดภาพเดิมที่ใช้ ซึ่งในกรณีที่ผู้ใช้จะต้องทำการปรับภาพให้คมชัด (Sharp) ก็อาจจะเลือกใช้วิธี Nearest neighbor substitution แล้วจึงทำการปรับภาพให้เรียบด้วยซอฟต์แวร์ในภายหลัง ซึ่งจะง่ายและประหยัดเวลามาก สำหรับวิธี Bilinear interpolation ภาพใหม่ที่ได้จะมีเนื้อภาพเรียบ (Smooth) แต่จะใช้เวลาในการคำนวณนานกว่าวิธีวิธี Nearest neighbor ในขณะที่วิธี Cubic convolution จะให้ภาพที่มีลักษณะเนื้อภาพคมชัดขึ้น (ภาพที่ 6.13) แต่จะใช้เวลาในการคำนวณนานกว่า 2 วิธีแรก และค่าระดับสีเทาที่ได้ในแต่ละจุดภาพอาจจะแตกต่างไปจากจุดภาพเดิมมาก เพราะได้จากการคำนวณของจุดภาพข้างเคียง อย่างไรก็ดีในการที่จะเลือกวิธีการสร้างจุดภาพใหม่ด้วยวิธีใดจะขึ้นกับการวินิจฉัยของผู้ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน
ข่ายสามเหลี่ยมทางอากาศ(Aerial Triangulation)
ในโครงการผลิตแผนที่ด้วยเทคนิคของโฟโตแกรมเมตรีนั้น จะต้องอาศัยค่าพิกัดจากหมุดหลักฐานภาคพื้นดินเป็นจำนวนมากในลักษณะข่ายงานที่ครอบคลุมพื้นที่ของโครงการ การสร้างหมุดหลักฐานด้วยการสำรวจรังวัดภาคพื้นดินนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองบุคลากรและเวลามากโดยเฉพาะเมื่อพื้นที่ของโครงการมีขนาดใหญ่และเข้าถึงอย่างยากลำบากหรือไม่อาจเข้าไปรังวัดในพื้นที่ได้ ในปัจจุบันนี้กรรมวิธีของโฟโตแกรมเมตรีจึงเป็นเทคนิคใหม่ที่เข้ามาแทนที่การสำรวจรังวัดแบบดั้งเดิม (Conventional ground survey) เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการออกสำรวจภาคสนามมีรายจ่ายน้อยที่สุด ดังนั้นเทคนิคของการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Triangulation) จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่มีส่วนช่วยให้การผลิตแผนที่ด้วยเทคนิคของโฟโตแกรมเมตรีใช้งบประมาณอย่างประหยัด(Economic feasibility) ถ้าปราศจากการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศแบบจำลองสามมิติทุกแบบจำลองจะต้องใช้ค่าพิกัดทางราบจำนวน 2 หมุด ค่าพิกัดทางดิ่งจำนวน 3 หมุด และพิกัดหมุดตรวจสอบอีก 1 หมุด ซึ่งค่าพิกัดเหล่านี้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากและดำเนินการโดยการสำรวจรังวัดภาคพื้นดิน
การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศเป็นกรรมวิธีการขยายเพิ่มค่าพิกัดทางดิ่งและทางราบภาคพื้นดินโดยการรังวัดตำแหน่งของจุดควบคุมรูปถ่ายในพื้นที่ที่มีส่วนเหลื่อมของรูปถ่ายทางอากาศกรรมวิธีของการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศสามารถจำแนกโดยพิจารณาจากรูปแบบการปรับแก้ (Adjustment) ได้ 3 วิธี คือ
1) การปรับแก้แบบพหุนามหรือวิธีต่อลำดับ (Polynomial or Sequential)
2) การปรับแก้แบบจำลองอิสระ (Independent Model)
3) การปรับแก้แบบลำแสง (Bundle)
การปรับแก้แบบพหุนาม / วิธีต่อลำดับการปรับแก้แบบพหุนาม (Polynomial หรือที่เรียกว่า Sequential) ได้ถูกพัฒนาโดยสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา แบบจำลองนี้เรียกว่า “การปรับแก้ของ SCHUT” โดยใช้พหุนามคงแบบ(Conformal polynomial) สำหรับการแยกการปรับแก้ค่าพิกัดทางราบ และค่าพิกัดทางดิ่ง แบบจำลองนี้สามารถแปลงพิกัดแถบ (Strip coordinates) ให้เป็นค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งภาคพื้นดินได้ในแต่ละแนวบิน (ภาพ 1.7) หรือใช้ค่าพิกัดของจุดโยงยึด (Tie points) ทำการปรับแก้ค่าพิกัดในลักษณะบล็อกแบบพหุนามได้ (Polynomial block adjustment) นอกจากนี้โปรแกรมที่นิยมใช้นอกเหนือจากSCHUT ได้แก่ STRIM
การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Triangulation) เป็นกรรมวิธีที่ช่วยเพิ่มจำนวนจุดควบคุมรูปถ่ายทางอากาศทางราบและทางดิ่งจากการวัดพิกัดของจุดต่างๆที่อยู่ภายในบริเวณส่วนเหลื่อมของรูปถ่ายทางอากาศ งานข่ายฯจำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.การเตรียมงาน ( Preparation )
2.การปฏิบัติงานและการวัด ( Execution )
3.การปรับแก้ ( Adjustment )
4. การพิจารณาผลการปรับแก้ ( Determination of Adjusted Coordinates )จุดที่ใช้สำหรับปรับแก้การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศจุดที่ใช้กับการปรับแก้การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ ได้แก่
1) จุดควบคุมพิกัดทางราบและทางดิ่งภาคพื้นดินที่มองเห็นชัดบนรูปถ่ายและในภูมิประเทศที่รับสัญญานจีพีเอสได้ดี จุดเหล่านี้สามารถใช้การมองภาพสามมิติด้วยกล้องมองภาพสามมิติชนิดกระจกและแท่งแพรัลแลกซ์ (Parallax bar) เข้าช่วยเพื่อพิจารณาตำแหน่งวางหมุดให้มีมุมกั้นฟ้า (Mask angle) น้อยกว่า 15 องศา (Chanlikit, 1995)
2) จุดปีก (Wing points ) ที่ทำมุมตั้งฉากกับเส้นฐานรูปถ่าย (Photobase) ในบริเวณจุดมุขยสำคัญไปหาขอบรูปถ่ายเป็นระยะ 9 – 11 เซนติเมตร
3) จุดผ่าน (Pass Points) ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับจุดมุขยสำคัญ
4) จุดโยงยึด (Tie points) ที่อยู่บริเวณส่วนเหลื่อมด้านข้างของแนวบินสองแนว
5) จุดศูนย์กลางการฉายภาพ (Projection centers) ที่ใช้วัดเพื่อการปรับแก้แบบจำลองอิสระ
การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศเป็นกรรมวิธีการขยายเพิ่มค่าพิกัดทางดิ่งและทางราบภาคพื้นดินโดยการรังวัดตำแหน่งของจุดควบคุมรูปถ่ายในพื้นที่ที่มีส่วนเหลื่อมของรูปถ่ายทางอากาศกรรมวิธีของการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศสามารถจำแนกโดยพิจารณาจากรูปแบบการปรับแก้ (Adjustment) ได้ 3 วิธี คือ
1) การปรับแก้แบบพหุนามหรือวิธีต่อลำดับ (Polynomial or Sequential)
2) การปรับแก้แบบจำลองอิสระ (Independent Model)
3) การปรับแก้แบบลำแสง (Bundle)
การปรับแก้แบบพหุนาม / วิธีต่อลำดับการปรับแก้แบบพหุนาม (Polynomial หรือที่เรียกว่า Sequential) ได้ถูกพัฒนาโดยสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา แบบจำลองนี้เรียกว่า “การปรับแก้ของ SCHUT” โดยใช้พหุนามคงแบบ(Conformal polynomial) สำหรับการแยกการปรับแก้ค่าพิกัดทางราบ และค่าพิกัดทางดิ่ง แบบจำลองนี้สามารถแปลงพิกัดแถบ (Strip coordinates) ให้เป็นค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งภาคพื้นดินได้ในแต่ละแนวบิน (ภาพ 1.7) หรือใช้ค่าพิกัดของจุดโยงยึด (Tie points) ทำการปรับแก้ค่าพิกัดในลักษณะบล็อกแบบพหุนามได้ (Polynomial block adjustment) นอกจากนี้โปรแกรมที่นิยมใช้นอกเหนือจากSCHUT ได้แก่ STRIM
การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Triangulation) เป็นกรรมวิธีที่ช่วยเพิ่มจำนวนจุดควบคุมรูปถ่ายทางอากาศทางราบและทางดิ่งจากการวัดพิกัดของจุดต่างๆที่อยู่ภายในบริเวณส่วนเหลื่อมของรูปถ่ายทางอากาศ งานข่ายฯจำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.การเตรียมงาน ( Preparation )
2.การปฏิบัติงานและการวัด ( Execution )
3.การปรับแก้ ( Adjustment )
4. การพิจารณาผลการปรับแก้ ( Determination of Adjusted Coordinates )จุดที่ใช้สำหรับปรับแก้การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศจุดที่ใช้กับการปรับแก้การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ ได้แก่
1) จุดควบคุมพิกัดทางราบและทางดิ่งภาคพื้นดินที่มองเห็นชัดบนรูปถ่ายและในภูมิประเทศที่รับสัญญานจีพีเอสได้ดี จุดเหล่านี้สามารถใช้การมองภาพสามมิติด้วยกล้องมองภาพสามมิติชนิดกระจกและแท่งแพรัลแลกซ์ (Parallax bar) เข้าช่วยเพื่อพิจารณาตำแหน่งวางหมุดให้มีมุมกั้นฟ้า (Mask angle) น้อยกว่า 15 องศา (Chanlikit, 1995)
2) จุดปีก (Wing points ) ที่ทำมุมตั้งฉากกับเส้นฐานรูปถ่าย (Photobase) ในบริเวณจุดมุขยสำคัญไปหาขอบรูปถ่ายเป็นระยะ 9 – 11 เซนติเมตร
3) จุดผ่าน (Pass Points) ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับจุดมุขยสำคัญ
4) จุดโยงยึด (Tie points) ที่อยู่บริเวณส่วนเหลื่อมด้านข้างของแนวบินสองแนว
5) จุดศูนย์กลางการฉายภาพ (Projection centers) ที่ใช้วัดเพื่อการปรับแก้แบบจำลองอิสระ
การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขและงานรังวัดด้วยดาวเทียมเพื่อการสำรวจและออกแบบทางหลวง : กรณีศึกษาทางเลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอน
งานวิจัยการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขและงานรังวัดด้วยดาวเทียม เพื่อการสำรวจและออกแบบทางหลวง:กรณีศึกษาทางเลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาแนวทางการใช้วิธีการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลข ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมกับงานด้านการสำรวจและออกแบบทางหลวง ซึ่งด้วยเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน วิธีการข้างต้นเป็นอีกแนวทางหนึ่งของการสำรวจรังวัดพิกัดตำแหน่ง การตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับข้อมูลพิกัดตำแหน่งที่ได้ทำการรังวัดภาคสนามไปแล้ว หรือให้ข้อมูลภาพรวมในพื้นที่ ได้เป็นอย่างดี ผลการวิจัยพบว่า ภาพถ่ายมาตราส่วน 1:15000 มีความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนการสำรวจเบื้องต้น ภาพถ่ายมาตราส่วน 1:6000 มีความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนการสำรวจขั้นต้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลภาพถ่ายเชิงเลข คือ แบบจำลองระดับสูง และ ภาพถ่ายดัดแก้ออโท สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการออกแบบแนวทาง การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตทาง หรือ ใช้ประกอบกับแบบแนวทางราบ จากการเปรียบเทียบภาพที่สแกนด้วยความละเอียด 15 และ 25 ไมครอน พบว่าภาพที่สแกนด้วยความละเอียด 25 ไมครอน สามารถใช้งานได้เพียงพอสำหรับการสำรวจเส้นทาง และขนาดจุดภาพของภาพดัดแก้ออโทที่ผลิตได้ที่เหมาะสมกับงานออกแบบทาง คือ 0.20 เมตร สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ความถูกต้องของจุดพิกัดใน 3 มิติ ระยะเวลาในการทำงาน ขนาดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำมาใช้ในขั้นตอนต่างๆของการสำรวจและออกแบบทางหลวง
Bride Wars สงครามงานแต่ง...แข่งกันเป็นเจ้าสาว

ลีฟกับเอ็มม่า เป็นสองสาวเพื่อนซี้ปึกกันมาตั้งแต่เด็ก พวกเธอมีแผนใฝ่ฝันที่จะแต่งงานไล่เลี่ยตามกัน โดย เป้าหมายที่ทั้งคู่ต้องการคืองานแต่งงานที่เป็นทางการในโรงแรมหรูกลางนิวยอร์กซิตี้ “ เดอะ พลาซา ”
ตอนนี้พวกเธอ26กันแล้วและทั้งคู่ก็พร้อมแล้วสำหรับการแต่งาน ที่จะทำให้ความฝันของทั้งคู่เป็นจริง และมีความสุขกันตราบชั่วนิรันดร์...หรืออาจจะไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อเกิดความผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่องวันแต่งาน ที่ตอนนี้พวกเธอต้องมาแต่งานกันในวันเดียวกัน! ลีฟ , เอ็มม่า และมิตรภาพตลอดชีวิตของพวกเธอกำลังถูกทดสอบด้วยเรื่องนี้ จากคู่ซี้ปึกกลายเป็นคู่ปรับที่ชิงไหวชิงพริบหักเหลี่ยมเชือดเฉือน จนกลายเป็นสงครามของว่าที่สองเจ้าสาวที่เร่าร้อนแสบสันต์เกินพรรณนา
สรุป
จากภาพ Diagram เป็นแผนภูมิแสดงแสดงความสัมพันธ์ของตัวละครในภาพยนตร์ เส้นในแนวนอนแสดงเวลา เส้นกลุ่มแนวตั้งแสดงเหตุการณ์หรือสถานที่ ที่ตัวละครอยู่ร่วมกัน ในเวลาที่กำหนดไว้ ต้องการนำเสนอการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ โดยเน้นตัวละครที่สำคัญของเรื่อง เพื่อต้องการอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาของหนัง ตอนต้นเรื่อง กลางเรื่อง ท้ายเรื่อง ของตัวละคร ว่าในช่วงไหนมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มีการลำดับขั้นตอนเป็นอย่างไร และมีช่วงใดที่ตัวละครแต่ละตัวมาพบกันเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน โดยมีเวลาของการดำเนินเรื่องเป็นตัวกำหนดเพื่อความสอดคล้องกัน
จากภาพ Diagram สามารถสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดีพอสมควร อาจมีในบางกรณีที่ผู้ที่ต้องการทราบความหมาย ต้องดูภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวมาก่อนจึงจะเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
LORD OF THE RINGS, STAR WARS, JURASSIC PARK เปรียบเทียบได้ว่า จาก Charts ที่เห็น เป็นการอธิบายการดำเนินเรื่องโดยถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ Chart เพื่อการอธิบายในอีกเชิงรูปแบบหนึ่ง แตกต่างจากจากการชมภาพยนตร์ที่ให้รายละเอียด และเห็นภาพมากกว่า เข้าใจมากกว่า เพราะในบางช่วงของ Chart แม้คนที่ดูหนังแล้วก็ยังสับสน
ข้อเด่น คือ เป็นการนำเสนอเพื่อการสื่อสารในการเข้าใจเกี่ยวกับการลำดับและการดำเนินเรื่องของหนังในรูปแบบของ Chart เป็นการนำเสนอแบบใหม่
ข้อด้อย คือ ไม่เหมาะกับหนังบางเรื่อง เพราะเส้นที่สร้างอาจสร้างความสับสน ทำให้เกิดความเข้าใจและความความหมายคลาดเคลื่อน อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ที่ว่า บางช่วงของ Chart แม้คนที่ดูหนังแล้วก็ยังสับสน
สิ่งที่ขาดหายไป คือ การออกแบบในรูปของChart สมารถใช้รายละเอียดได้น้อย และขาดความมีชีวิตชีวา
Tuesday, 16 February 2010
Contrast Enhancement
Term:Contrast Enhancement

Definition:A radiometric enhancement technique used to improve the visual contrast of an image. It matches the data's dynamic range to the dynamic range of the display medium (photographic or digital).
Explanation:Remote sensing sensor systems detect reflected or emitted radiation from features on the Earth’s surface. Often times, the detected energy does not fill the entire grey level range the sensor is capable of. For example, an image containing water, forest and agriculture may have a range of 183 different grey levels. However, the sensor may actually be capable of recording 256 different grey levels (8 bit system). Some sensors can be sensitive to tens of thousands, millions or billions of grey levels. A contrast enhancement can redistribute these values to utilize the full range of a display. This allows for a greater contrast between features and can lead to a more accurate interpretation of features within the image. There are both non-linear and linear contrast enhancement techniques. Image enhancement techniques are normally used only to improve visual interpretation of an image and its features as the human eye can more readily distinguish high contrast features than low contrast features. Graphic 1 shows an image prior to enhancement (left) and an image after a contrast enhancement has been applied (right). Quantitative processing techniques, such as image classification, change detection or extraction of biophysical parameters from radar backscatter do not benefit from prior contrast enhancing. This is because the computer (as opposed to the human eye) can discriminate between two integer values regardless of how close their values are to each other. A contrast enhancement can be demonstrated by means of the histogram representation of an image. Graphic 2C shows a histogram of raw image data. Graphic 2D shows a histogram for the same image after a contrast enhancement has been applied. Note that in the histogram of the enhanced image, the full range of grey levels is populated. A contrast enhancement can be applied to a selected (grey level) portion of the image. Instead of using the minimum and maximum grey level values in an image, an analyst would specify alternate minimum and maximum values. This approach can be used to enhance the detail of certain features in an image. For example, if there was an urban area located in the image that was the subject of study, then it would be desirable to show as much detail within that region as possible. By applying a contrast enhancement within a specified input range, such as (say) a range of 68 to 217, only the values within that range would be stretched over the entire display range (i.e. 0 to 255). This leads to more contrast within the selected grey range (urban area in this case) and exaggerates minute changes in grey levels. Other features which had grey levels outside this selected range would be displayed as pure black or white. This sort of variation of a contrast enhancement is useful for more detailed study of specific features and is sometimes referred to as a ‘piecemeal’ approach.
Graphic 1:

A - Original Image B - Enhanced Image
Graphic 2:

C - Image Values D - Display Values X - Grey levels Y - Image area (pixels)
Thanks for: http://www.ccrs.nrcan.gc.ca/glossary/index_e.php?id=2889
Tuesday, 9 February 2010
กรนบำรุงสุขภาพ ยิ่งกรนแรงสนั่น ยิ่งเผาผลาญไขมันได้ไว

วารสารวิชาการ "ศัลยกรรมโสตศอนาสิก ศีรษะและคอ" ของสหรัฐฯ รายงานว่า เพิ่งได้ทราบจากผลการศึกษาว่า การนอนกรนเป็นนิสัยที่เป็นประโยชน์ ต่อสุขภาพ ยิ่งกรนแรงเท่าไร ก็ยิ่งช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันลงได้มาก ยิ่งกว่าคนที่กรนเสียงค่อยกว่า
รายงานผลการศึกษา กล่าวว่า ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงใหญ่ ของโรคเกี่ยวกับการหายใจยามนอน ตั้งแต่การนอนกรน การหยุดหายใจเป็นพักๆ รวมทั้งอย่างอื่นด้วย "แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่า การมีน้ำหนักมากขึ้นเป็นสาเหตุของโรค หรือการเพิ่มน้ำหนักไปเป็นตัวเกี่ยวพันกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญอาหารอีกทอดหนึ่ง ถึงได้ทำให้น้ำหนักเพิ่ม จึงไปเกี่ยวยุ่งกับการรักษาโรคทั้งคู่นั้นเข้า"
รายงานการศึกษาของทีมวิจัย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้เสริมว่า น้ำหนักตัวของคนเรานั้น ขึ้นอยู่กับดุลของพลังงานที่ได้รับกับพลังงานที่ใช้ออกไป.
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
Autocad
AUTOCAD คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการออกแบบ เขียน แบบ และผลิตงานออกแบบที่เกี่ยวข้องได้ในเกือบทุกประเภท เช่น ตั้งแต่งานแผนผังแบบชิ้นเล็ก ๆ จนกระทั่งงานใหญ่ ๆ จนถึงแผนที่โลก ด้วยความไม่มีขีดจำกัดใด ๆ
AUTOCAD เป็นโปรแกรมที่ใช้กันอย่างกว้างขวางและจะเห็นได้ชัดในการนำไปใช้งานออกแบบทางสถาปัตยกรรม, วิศวกรรม, งานสำรวจ, ตกแต่งภายใน, แผนที่ ตลอดจนงานออกแบบผลิต-ภัณฑ์และเครื่องกล ฯลฯ และต่อไป
AUTOCAD นี้ จะเป็นตัวหลักในการผลิตผลงานการออกแบบทั้งหมดในอนาคต และเป็นที่ยอมรับสำหรับคนทั่วโลก
ในเรื่องของมาตรฐานการออกแบบโดยทั่วไป ซึ่งความสามารถของโปรแกรม AUTOCAD นั้น จะทำได้ตั้งแต่งานในระบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ตลอดจนเป็นพื้นฐานของการนำไปสู่การสร้างงาน ANIMATION (ภาพเคลื่อนไหว) และการนำเสนองาน (PRESENTATION) ในรูปแบบต่าง ๆ ในขั้นตอนต่อ ๆ ไปที่สูงขึ้น และใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้อีกใน หลาย ๆ รูปแบบ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ AutoCAD AutoCAD 2007 เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเขียนแบบและออกแบบ 2 มิติและ 3 มิติ ทางด้านวิศวกรรมทุกสาขา และสถาปัตยกรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับโปรแกรมนี้จึงต้องมีสมรรถนะสูงดังนี้
1. CPU pentium IV1000 MHz เป็นขั้นต่ำและมีความเร็วสูง
2. หน่วยความจำ 512MB ขั้นต่ำสำหรับการทำงานจริงแล้วควรใช้หน่วยความจำไม่น้อยกว่า 2 GB
3. การ์ดแสดงผลที่สนับสนุนมาตรฐาน Open GLและจอสามารถแสดงความละเอียดของภาพ 1024*768 pixels แบบTrue Color หรือสูงกว่า
ถ้าหากใครสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Autocad ทั้งหมดนั้นว่าสามารถทำไรได้บ้างหรือเรื่องอื่นๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.freesplans.com/download/acad2.asp
http://www.thaiengineering.com/viewnew.php?id=311&&id_cate=27
http://caduser.cjb.net/
AUTOCAD เป็นโปรแกรมที่ใช้กันอย่างกว้างขวางและจะเห็นได้ชัดในการนำไปใช้งานออกแบบทางสถาปัตยกรรม, วิศวกรรม, งานสำรวจ, ตกแต่งภายใน, แผนที่ ตลอดจนงานออกแบบผลิต-ภัณฑ์และเครื่องกล ฯลฯ และต่อไป
AUTOCAD นี้ จะเป็นตัวหลักในการผลิตผลงานการออกแบบทั้งหมดในอนาคต และเป็นที่ยอมรับสำหรับคนทั่วโลก
ในเรื่องของมาตรฐานการออกแบบโดยทั่วไป ซึ่งความสามารถของโปรแกรม AUTOCAD นั้น จะทำได้ตั้งแต่งานในระบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ตลอดจนเป็นพื้นฐานของการนำไปสู่การสร้างงาน ANIMATION (ภาพเคลื่อนไหว) และการนำเสนองาน (PRESENTATION) ในรูปแบบต่าง ๆ ในขั้นตอนต่อ ๆ ไปที่สูงขึ้น และใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้อีกใน หลาย ๆ รูปแบบ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ AutoCAD AutoCAD 2007 เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเขียนแบบและออกแบบ 2 มิติและ 3 มิติ ทางด้านวิศวกรรมทุกสาขา และสถาปัตยกรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับโปรแกรมนี้จึงต้องมีสมรรถนะสูงดังนี้
1. CPU pentium IV1000 MHz เป็นขั้นต่ำและมีความเร็วสูง
2. หน่วยความจำ 512MB ขั้นต่ำสำหรับการทำงานจริงแล้วควรใช้หน่วยความจำไม่น้อยกว่า 2 GB
3. การ์ดแสดงผลที่สนับสนุนมาตรฐาน Open GLและจอสามารถแสดงความละเอียดของภาพ 1024*768 pixels แบบTrue Color หรือสูงกว่า
ถ้าหากใครสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Autocad ทั้งหมดนั้นว่าสามารถทำไรได้บ้างหรือเรื่องอื่นๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.freesplans.com/download/acad2.asp
http://www.thaiengineering.com/viewnew.php?id=311&&id_cate=27
http://caduser.cjb.net/
Tuesday, 2 February 2010
Monday, 1 February 2010
Pixel คืออะไร หมายความว่า.....ใช้ทำอะไร
Pixel อ่านว่า "พิกเซล" คือ ส่วนหนึ่งที่เล็กที่สุดของภาพดิจิตอล เป็นส่วนของการแสดงผลภาพบนสื่อดิจิตอลที่มาจากสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์หรือแสดงโดยค่าดิจิตอล พิกเซลเป็นค่าบนอุปกรณ์แสดงผล หรือ ในกล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอล (photosensor) และสามารถใช้ในนามธรรมเป็นหน่วยของการวัด(ตัวชี้วัด)ความละเอียดเช่น: 640 x 480 Pixel หมายความว่า มีความละเอียด 307,200 Pixel นั่นเอง
แต่ 1 Pixel จะเป็นสีหนึ่งสีใดเพียงสีเดียวเท่านั้นจะมีสีอื่นไม่ได้ เนื่องจากว่าเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของการแสดงผล ฉนั้นรูปที่เราเห็นจึงประกอบด้วยหลายๆ Pixel มาต่อเรียงกันจนเกิดภาพนั่นเอง
นอกเหนือจากหน่วยของการแสดงที่เป็น Pixel ที่เราได้ยินกันเป็นประจำแล้วยังมีคำว่า bpp ย่อมาจากคำว่า bits per pixel (บิตต่อพิกเซล) คือค่าของจำนวนสีที่สามารถแสดงได้ในหนึ่งพิกเซล ดังที่บอกไปในข้างต้นว่า 1 Pixel จะสามารถแสดงผลแสดงผลได้เพียงสีเดียวเท่านั่น ดั่งนั่นค่า bpp จะเป็นตัวบอกว่าใน 1 Pixel จะสามารถเปลี่ยนสีได้กี่สี (รูปคงไม่สวยแน่ถ้ามี Pixel หลายอันมาเรียงต่อกันแล้วทุกพิกเซลเป็นสีเดียวกัน) อาจเรียกว่า บิต (ฺBit) เฉยๆก็ได้ เช่น ภาพขนาด 640x480x24b, 640x480x24bit หรือ 640x480x24บิต
1 bpp, =2 สี (ขาวดำ)
2 bpp, =4 สี
3 bpp, =8 สี
4 bpp, =16 สี
5 bpp, =32 สี
6 bpp, =164 สี
7 bpp, =128 สี
8 bpp, =256 สี
9 bpp, =512 สี
10 bpp, =1,024 สี
11 bpp, =2,048 สี
12 bpp, =4,096 สี
13 bpp, =8,192 สี
14 bpp, =16,384 สี
15 bpp, =32,768 สี
16 bpp, =65,536 สี ( "Highcolor")
17 bpp, =131,072 สี
18 bpp, =262,144 สี
19 bpp, =524,288 สี
20 bpp, =1,048,576 สี
21 bpp, =2,097,152 สี
22 bpp, =4,194,304 สี
23 bpp, =8,386,088 สี
24 bpp, =16,777,216 สี หรือ 16.8 million สี ( "Truecolor")
32 bpp, =4,294,967,296 สี
เราเห็นเป็นประจำก็จะมี 8 bpp =256 สี (การแสดงผลในคอมรุ่นเก่าๆ) 6bpp=65,536 สี (รุ่นใหม่มานิดหนึ่ง)
24 bpp=16,777,216 สี (ไฟล์รูปสกุล .jpg)
32 bpp=4,294,967,296 สี (การแสดงผลในจอคอมปัจจุบัน)
แต่ 1 Pixel จะเป็นสีหนึ่งสีใดเพียงสีเดียวเท่านั้นจะมีสีอื่นไม่ได้ เนื่องจากว่าเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของการแสดงผล ฉนั้นรูปที่เราเห็นจึงประกอบด้วยหลายๆ Pixel มาต่อเรียงกันจนเกิดภาพนั่นเอง
นอกเหนือจากหน่วยของการแสดงที่เป็น Pixel ที่เราได้ยินกันเป็นประจำแล้วยังมีคำว่า bpp ย่อมาจากคำว่า bits per pixel (บิตต่อพิกเซล) คือค่าของจำนวนสีที่สามารถแสดงได้ในหนึ่งพิกเซล ดังที่บอกไปในข้างต้นว่า 1 Pixel จะสามารถแสดงผลแสดงผลได้เพียงสีเดียวเท่านั่น ดั่งนั่นค่า bpp จะเป็นตัวบอกว่าใน 1 Pixel จะสามารถเปลี่ยนสีได้กี่สี (รูปคงไม่สวยแน่ถ้ามี Pixel หลายอันมาเรียงต่อกันแล้วทุกพิกเซลเป็นสีเดียวกัน) อาจเรียกว่า บิต (ฺBit) เฉยๆก็ได้ เช่น ภาพขนาด 640x480x24b, 640x480x24bit หรือ 640x480x24บิต
1 bpp, =2 สี (ขาวดำ)
2 bpp, =4 สี
3 bpp, =8 สี
4 bpp, =16 สี
5 bpp, =32 สี
6 bpp, =164 สี
7 bpp, =128 สี
8 bpp, =256 สี
9 bpp, =512 สี
10 bpp, =1,024 สี
11 bpp, =2,048 สี
12 bpp, =4,096 สี
13 bpp, =8,192 สี
14 bpp, =16,384 สี
15 bpp, =32,768 สี
16 bpp, =65,536 สี ( "Highcolor")
17 bpp, =131,072 สี
18 bpp, =262,144 สี
19 bpp, =524,288 สี
20 bpp, =1,048,576 สี
21 bpp, =2,097,152 สี
22 bpp, =4,194,304 สี
23 bpp, =8,386,088 สี
24 bpp, =16,777,216 สี หรือ 16.8 million สี ( "Truecolor")
32 bpp, =4,294,967,296 สี
เราเห็นเป็นประจำก็จะมี 8 bpp =256 สี (การแสดงผลในคอมรุ่นเก่าๆ) 6bpp=65,536 สี (รุ่นใหม่มานิดหนึ่ง)
24 bpp=16,777,216 สี (ไฟล์รูปสกุล .jpg)
32 bpp=4,294,967,296 สี (การแสดงผลในจอคอมปัจจุบัน)
Subscribe to:
Posts (Atom)