การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขเพื่อผลิตแผนที่Digital Photogrammetry for Mapการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศจะมีการทำงานอยู่ 3 รูปแบบ [1] คือ แบบกระทำด้วยมือ (Analog) แบบใช้เครื่องมือวิเคราะห์ (Analytical) และแบบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Digital) ในกระบวนการทำแผนที่ด้วยภาพถ่ายทางอากาศจำเป็นต้องทราบตำแหน่งของวัตถุต่างๆ บนภาพถ่ายที่สัมพันธ์กับพื้นดินเพื่อให้ตำแหน่งของวัตถุบนภาพมีความถูกต้องสูงและเชื่อถือได้ก่อนนำไปสร้างเป็นแผนที่เชิงเลขที่แสดงผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือทำแผนที่จากฟิลม์ อีกทั้งยังสามารถใช้การซ้อนทับระหว่างการถ่ายภาพทางอากาศที่มีค่าร้อยละ 60 ไปสร้างเป็นแผนที่สามมิติได้อีกด้วย ดังนั้นการสำรวจภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขจึงมีขั้นตอนและรายละเอียดที่ซับซ้อนและต้องมีความรู้ในกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องสูงเหมาะสมกับการนำไปใช้
งานกระบวนการสร้างแผนที่จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขจึงมีขั้นตอน 6 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
1. การวางแผนและกำหนดพื้นที่ถ่ายภาพบริเวณที่ต้องการ
2. ถ่ายภาพและแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของเชิงเลข
3. ปรับแก้ภาพถ่ายให้เป็นภาพถ่ายดิ่งจริง
4. กำหนดแผนที่ฐานและหมุดควบคุมของภูมิประเทศที่ถ่ายภาพ
5. ประมวลผลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพถ่ายทางอากาศและพื้นดิน
6. สร้างแผนที่และจัดพิมพ์
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment