ในโครงการผลิตแผนที่ด้วยเทคนิคของโฟโตแกรมเมตรีนั้น จะต้องอาศัยค่าพิกัดจากหมุดหลักฐานภาคพื้นดินเป็นจำนวนมากในลักษณะข่ายงานที่ครอบคลุมพื้นที่ของโครงการ การสร้างหมุดหลักฐานด้วยการสำรวจรังวัดภาคพื้นดินนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองบุคลากรและเวลามากโดยเฉพาะเมื่อพื้นที่ของโครงการมีขนาดใหญ่และเข้าถึงอย่างยากลำบากหรือไม่อาจเข้าไปรังวัดในพื้นที่ได้ ในปัจจุบันนี้กรรมวิธีของโฟโตแกรมเมตรีจึงเป็นเทคนิคใหม่ที่เข้ามาแทนที่การสำรวจรังวัดแบบดั้งเดิม (Conventional ground survey) เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการออกสำรวจภาคสนามมีรายจ่ายน้อยที่สุด ดังนั้นเทคนิคของการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Triangulation) จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่มีส่วนช่วยให้การผลิตแผนที่ด้วยเทคนิคของโฟโตแกรมเมตรีใช้งบประมาณอย่างประหยัด(Economic feasibility) ถ้าปราศจากการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศแบบจำลองสามมิติทุกแบบจำลองจะต้องใช้ค่าพิกัดทางราบจำนวน 2 หมุด ค่าพิกัดทางดิ่งจำนวน 3 หมุด และพิกัดหมุดตรวจสอบอีก 1 หมุด ซึ่งค่าพิกัดเหล่านี้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากและดำเนินการโดยการสำรวจรังวัดภาคพื้นดิน
การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศเป็นกรรมวิธีการขยายเพิ่มค่าพิกัดทางดิ่งและทางราบภาคพื้นดินโดยการรังวัดตำแหน่งของจุดควบคุมรูปถ่ายในพื้นที่ที่มีส่วนเหลื่อมของรูปถ่ายทางอากาศกรรมวิธีของการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศสามารถจำแนกโดยพิจารณาจากรูปแบบการปรับแก้ (Adjustment) ได้ 3 วิธี คือ
1) การปรับแก้แบบพหุนามหรือวิธีต่อลำดับ (Polynomial or Sequential)
2) การปรับแก้แบบจำลองอิสระ (Independent Model)
3) การปรับแก้แบบลำแสง (Bundle)
การปรับแก้แบบพหุนาม / วิธีต่อลำดับการปรับแก้แบบพหุนาม (Polynomial หรือที่เรียกว่า Sequential) ได้ถูกพัฒนาโดยสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา แบบจำลองนี้เรียกว่า “การปรับแก้ของ SCHUT” โดยใช้พหุนามคงแบบ(Conformal polynomial) สำหรับการแยกการปรับแก้ค่าพิกัดทางราบ และค่าพิกัดทางดิ่ง แบบจำลองนี้สามารถแปลงพิกัดแถบ (Strip coordinates) ให้เป็นค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งภาคพื้นดินได้ในแต่ละแนวบิน (ภาพ 1.7) หรือใช้ค่าพิกัดของจุดโยงยึด (Tie points) ทำการปรับแก้ค่าพิกัดในลักษณะบล็อกแบบพหุนามได้ (Polynomial block adjustment) นอกจากนี้โปรแกรมที่นิยมใช้นอกเหนือจากSCHUT ได้แก่ STRIM
การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Triangulation) เป็นกรรมวิธีที่ช่วยเพิ่มจำนวนจุดควบคุมรูปถ่ายทางอากาศทางราบและทางดิ่งจากการวัดพิกัดของจุดต่างๆที่อยู่ภายในบริเวณส่วนเหลื่อมของรูปถ่ายทางอากาศ งานข่ายฯจำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.การเตรียมงาน ( Preparation )
2.การปฏิบัติงานและการวัด ( Execution )
3.การปรับแก้ ( Adjustment )
4. การพิจารณาผลการปรับแก้ ( Determination of Adjusted Coordinates )จุดที่ใช้สำหรับปรับแก้การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศจุดที่ใช้กับการปรับแก้การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ ได้แก่
1) จุดควบคุมพิกัดทางราบและทางดิ่งภาคพื้นดินที่มองเห็นชัดบนรูปถ่ายและในภูมิประเทศที่รับสัญญานจีพีเอสได้ดี จุดเหล่านี้สามารถใช้การมองภาพสามมิติด้วยกล้องมองภาพสามมิติชนิดกระจกและแท่งแพรัลแลกซ์ (Parallax bar) เข้าช่วยเพื่อพิจารณาตำแหน่งวางหมุดให้มีมุมกั้นฟ้า (Mask angle) น้อยกว่า 15 องศา (Chanlikit, 1995)
2) จุดปีก (Wing points ) ที่ทำมุมตั้งฉากกับเส้นฐานรูปถ่าย (Photobase) ในบริเวณจุดมุขยสำคัญไปหาขอบรูปถ่ายเป็นระยะ 9 – 11 เซนติเมตร
3) จุดผ่าน (Pass Points) ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับจุดมุขยสำคัญ
4) จุดโยงยึด (Tie points) ที่อยู่บริเวณส่วนเหลื่อมด้านข้างของแนวบินสองแนว
5) จุดศูนย์กลางการฉายภาพ (Projection centers) ที่ใช้วัดเพื่อการปรับแก้แบบจำลองอิสระ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment