ความแตกต่างของนามสกุลรูปภาพ
คุณสมบัติของนามสกุลไฟล์ภาพ
...เนื่องจากโปรแกรม Photoshop จะมีรูปแบบการบันทึกข้อมูลของภาพค่อนข้างหลากหลาย (รวมถึงโปรแกรมประเภทเดียวกัน)เพื่อใช้ในงานต่างๆกัน เพื่อนบางคนอาจยังไม่ทราบว่าเวลาที่เราบันทึก เราควรจะบันทึกใน Format ใดกันแน่ เดี๋ยววันนี้เราจะขออาสาพาท่านไปรู้จักกับชนิดไฟล์ที่คุณควรจะรู้ค่ะ
-Photoshop (.psd) นามสกุลแรกเป็นนามสกุลของโปรแกรม photoshop เอง มีประโยชน์สุดๆ เนื่องจากจะทำการบันทึกแบบแยกเลเยอร์เก็บเอาไว้ให้คุณแก้ไขได้ในภายหลัง จะใช้โปรแกรมอื่นเปิดไฟล์นี้มาแก้ไม่ได้ เราขอแนะนำให้คุณบันทึกไฟล์ในรูปแบบนี้เอาไว้ทุกครั้ง เผื่อเรียกแก้ไขยามฉุกเฉิน จะได้ไม่ต้องมานั่งทำใหม่อีก
-JPEG , JPG (.jpg) ถ้าหากคุณบันทึกในรูปแบบนี้ คุณภาพของภาพอยู่ในขั้นพอยอมรับได้ มีคุณสมบัติในการบีบอัดขนาดไฟล์ได้ ทำให้สามารถนำไปใช้งานบนเว็บไซท์ หรือ งานสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เน้นคุณภาพของภาพมากนัก ลองดูตัวอย่างภาพด้านล่างเพื่อเปรียบเทียบ ฝั่งซ้ายมีขนาดประมาณ 12K ในขณะที่ฝั่งขวาถูกบีบอัดซะจนใบหน้าเริ่มเขียว อยู่ที่ 4K คุณจะสังเกตเห็นความหยาบกร้านมากขึ้น แต่ผลที่ได้คือความรวดเร็วในการเปิดรับชมที่ไวขึ้น
-BMP (.bmp) รูปแบบที่แสนคลาสสิค เป็นมาตราฐานของ Microsoft windows แสดงผลได้ 16.7 ล้านสี บันทึกได้ทั้งโหมด RGB, Index Color, Grayscale และ Bitmap สามารถเปิดใช้งานได้หลายโปรแกรม แต่คุณภาพจะสู้รูปแบบ JPEG ไม่ได้
-GIF (.gif) เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้เล็กลง ใช้กับรูปภาพที่ไม่ได้เน้นรายละเอียดสีที่สมจริง ไม่เหมาะกับภาพถ่าย จะเหมาะกับภาพการ์ตูน ภาพแนว vector มากกว่า เนื่องจากมีการไล่ระดับเฉดสีเพียง 256 สี ทำให้มีความละเอียดไม่เพียงพอ แต่มีคุณสมบัติพิเศษคือ สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย หรือที่เรียกกันว่า Gif Animation สรุปว่าเป็นไฟล์ที่เหมาะมากบนเว็บไซต์
-TIFF (.tif) นามสกุลที่มีความยืดหยุ่นและคุณภาพสูงสุดขีด บันทึกแบบ Cross-platform จัดเก็บภาพได้ทั้งโหมด Grayscale Index Color, RGB และ CMYK เปิดได้ทั้งบนเครื่อง Mac และ PC เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ เมื่อรู้เช่นนี้ หลายคนที่ยังมั่วนิ่มอยู่ ก็ลองพิจารณารูปแบบการบันทึกไฟล์ใหม่นะจ๊ะ
-EPS (.eps) นามสกุลที่ใช้เปิดในโปรแกรม Illustrator แต่สามารถบันทึกได้ในโปรแกรม Photoshop สนับสนุนการสร้าง Path หรือ Clipping Path บันทึกได้ทั้ง Vector แะ Rastor สนับสนุนโหมด Lab, CMYK, RGB, Index Color, Duotone และ Bitmap
-PICT (.pic) เป็นรูปแบบมาตราฐานในการบันทึกภาพแบบ 32 บิตของ Macintosh แสดงผลสีได้ระดับ 16.7 ล้านสี สามารถบีบอัดข้อมูลภาพได้เช่นกัน เพียงแต่สนับสนุนโหมด RGB เท่านั้นค่ะ
-PNG (.png) เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในเว็บไซท์ สามารถบีบอัดขนาดไฟล์ลงได้พอสมควร โดยที่ยังรักษาคุณภาพของภาพเอาไว้ได้ และที่สำคัญสามารถเลือกระดับสีใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี มีการคาดกันว่าจะมาแทนที่ไฟล์ GIF ไม่ช้าก็เร็ว
- RAW (.raw) นามสกุลใหม่แต่โคตรดิบระห่ำจุดนรก เหมาะสำหรับภาพถ่ายจริงๆ ชื่อมันก็แปลตามตรงว่า "ดิบ" หมายถึงไม่มีการบีบอัดข้อมูลภาพใดๆเลยทั้งสิ้น รายละเอียดจึงยังครบถ้วน แต่ขนาดไฟล์ก็อลังการสุดๆเช่นกัน ปัจจุบันหาโปรแกรมมาเปิดไฟล์ชนิดนี้ยากอยู่ เพราะส่วนใหญ่จะแถมโปรแกรมมากับกล้องดิจิตอลที่สามารถบันทึกไฟล์ในรูปแบบ RAW ได้เท่านั้น
-Photoshop (.psd) นามสกุลแรกเป็นนามสกุลของโปรแกรม photoshop เอง มีประโยชน์สุดๆ เนื่องจากจะทำการบันทึกแบบแยกเลเยอร์เก็บเอาไว้ให้คุณแก้ไขได้ในภายหลัง จะใช้โปรแกรมอื่นเปิดไฟล์นี้มาแก้ไม่ได้ เราขอแนะนำให้คุณบันทึกไฟล์ในรูปแบบนี้เอาไว้ทุกครั้ง เผื่อเรียกแก้ไขยามฉุกเฉิน จะได้ไม่ต้องมานั่งทำใหม่อีก
-JPEG , JPG (.jpg) ถ้าหากคุณบันทึกในรูปแบบนี้ คุณภาพของภาพอยู่ในขั้นพอยอมรับได้ มีคุณสมบัติในการบีบอัดขนาดไฟล์ได้ ทำให้สามารถนำไปใช้งานบนเว็บไซท์ หรือ งานสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เน้นคุณภาพของภาพมากนัก ลองดูตัวอย่างภาพด้านล่างเพื่อเปรียบเทียบ ฝั่งซ้ายมีขนาดประมาณ 12K ในขณะที่ฝั่งขวาถูกบีบอัดซะจนใบหน้าเริ่มเขียว อยู่ที่ 4K คุณจะสังเกตเห็นความหยาบกร้านมากขึ้น แต่ผลที่ได้คือความรวดเร็วในการเปิดรับชมที่ไวขึ้น
-BMP (.bmp) รูปแบบที่แสนคลาสสิค เป็นมาตราฐานของ Microsoft windows แสดงผลได้ 16.7 ล้านสี บันทึกได้ทั้งโหมด RGB, Index Color, Grayscale และ Bitmap สามารถเปิดใช้งานได้หลายโปรแกรม แต่คุณภาพจะสู้รูปแบบ JPEG ไม่ได้
-GIF (.gif) เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้เล็กลง ใช้กับรูปภาพที่ไม่ได้เน้นรายละเอียดสีที่สมจริง ไม่เหมาะกับภาพถ่าย จะเหมาะกับภาพการ์ตูน ภาพแนว vector มากกว่า เนื่องจากมีการไล่ระดับเฉดสีเพียง 256 สี ทำให้มีความละเอียดไม่เพียงพอ แต่มีคุณสมบัติพิเศษคือ สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย หรือที่เรียกกันว่า Gif Animation สรุปว่าเป็นไฟล์ที่เหมาะมากบนเว็บไซต์
-TIFF (.tif) นามสกุลที่มีความยืดหยุ่นและคุณภาพสูงสุดขีด บันทึกแบบ Cross-platform จัดเก็บภาพได้ทั้งโหมด Grayscale Index Color, RGB และ CMYK เปิดได้ทั้งบนเครื่อง Mac และ PC เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ เมื่อรู้เช่นนี้ หลายคนที่ยังมั่วนิ่มอยู่ ก็ลองพิจารณารูปแบบการบันทึกไฟล์ใหม่นะจ๊ะ
-EPS (.eps) นามสกุลที่ใช้เปิดในโปรแกรม Illustrator แต่สามารถบันทึกได้ในโปรแกรม Photoshop สนับสนุนการสร้าง Path หรือ Clipping Path บันทึกได้ทั้ง Vector แะ Rastor สนับสนุนโหมด Lab, CMYK, RGB, Index Color, Duotone และ Bitmap
-PICT (.pic) เป็นรูปแบบมาตราฐานในการบันทึกภาพแบบ 32 บิตของ Macintosh แสดงผลสีได้ระดับ 16.7 ล้านสี สามารถบีบอัดข้อมูลภาพได้เช่นกัน เพียงแต่สนับสนุนโหมด RGB เท่านั้นค่ะ
-PNG (.png) เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในเว็บไซท์ สามารถบีบอัดขนาดไฟล์ลงได้พอสมควร โดยที่ยังรักษาคุณภาพของภาพเอาไว้ได้ และที่สำคัญสามารถเลือกระดับสีใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี มีการคาดกันว่าจะมาแทนที่ไฟล์ GIF ไม่ช้าก็เร็ว
- RAW (.raw) นามสกุลใหม่แต่โคตรดิบระห่ำจุดนรก เหมาะสำหรับภาพถ่ายจริงๆ ชื่อมันก็แปลตามตรงว่า "ดิบ" หมายถึงไม่มีการบีบอัดข้อมูลภาพใดๆเลยทั้งสิ้น รายละเอียดจึงยังครบถ้วน แต่ขนาดไฟล์ก็อลังการสุดๆเช่นกัน ปัจจุบันหาโปรแกรมมาเปิดไฟล์ชนิดนี้ยากอยู่ เพราะส่วนใหญ่จะแถมโปรแกรมมากับกล้องดิจิตอลที่สามารถบันทึกไฟล์ในรูปแบบ RAW ได้เท่านั้น
ข้อมูลดีมากครับ.. ขอบคุณครับ
ReplyDelete