>>>>ก่อนที่เราจะเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำเป็นต้องเข้าใจคำที่ควรรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรียนรู้ในเรื่องนี้อย่างถูกต้อง นั่นก็คือ คำว่า ภูมิอากาศ และลมฟ้าอากาศ ซึ่งเมื่อเราพูดถึงคำว่า “ภูมิอากาศ” จะมีความหมายที่แตกต่างจากคำว่า “ลมฟ้าอากาศ” โดยสิ้นเชิง ดังนี้
>>>>คำว่า “ลมฟ้าอากาศ” หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Weather หมายถึงสภาพของบรรยากาศที่เป็นอยู่และเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาสั้นๆ โดยทั่วไป หมายรวมถึงอุณหภูมิ ความชื้น ฝน เมฆ หมอก ลม และทัศนวิสัยเข้าด้วยกันทั้งหมด สภาพลมฟ้าอากาศเป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตได้เป็นอย่างแรกหลังจากที่เราตื่นขึ้นมา และสามารถแปรเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา เช่น ปี ฤดูกาล เดือน วัน และแม้กระทั่งรายชั่วโมง เช่น ตอนเช้าฝนตก ตอนสายแดดออก ตอนบ่ายท้องฟ้าแจ่มใส ก็เป็นไปได้โดยส่วนใหญ่เรามักศึกษาสภาพลมฟ้าอากาศจาก “อุณหภูมิอากาศ (Air temperature)”เพราะสภาพลมฟ้าอากาศที่สำคัญ คือ อุณหภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา
>>>>ส่วนคำว่า “ภูมิอากาศ” หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Climate มีความหมายว่า สภาพของบรรยากาศโดยทั่วๆ ไปของท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นผลเฉลี่ยมาจากการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ดังนั้น ภูมิอากาศจึงเป็นค่าปานกลางของลักษณะลมฟ้าอากาศในระยะเวลานานๆ โดยนำองค์ประกอบต่างๆ ที่มีผลต่อสภาพภูมิอากาศ เช่นอุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ มาหาค่าเฉลี่ย
>>>>หากขยายความให้เห็นชัดขึ้น ครูอาจจะยกตัวอย่างว่า ในชีวิตประจำวัน เรามักเห็นรายการข่าวทางโทรทัศน์หรือวิทยุ เกี่ยวกับการรายงานสภาพลมฟ้าอากาศรายวันและการพยากรณ์อากาศของวันต่อไป ดังนั้น การจดบันทึกเกี่ยวกับสภาพอากาศแต่ละวันเป็นประจำในช่วงระยะเวลาหนึ่งนานๆ จะทำให้เราทราบถึง “ค่าเฉลี่ยของลักษณะลมฟ้าอากาศ” ของแต่ละพื้นที่ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ประเทศไทยจะมีช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำหรือมีอากาศเย็นในช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ช่วงที่มีฝนตกจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม และช่วงที่มีอากาศร้อนคือในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม หรืออาจจะรวมถึงสภาพลมฟ้าอากาศที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษ เช่น การเกิดพายุใต้ฝุ่น เป็นต้น ซึ่งเราเรียกค่าเฉลี่ยที่บอกลักษณะของลมฟ้าอากาศในช่วงระยะเวลาที่นานนี้เองว่า “ภูมิอากาศ” (Climate)
>>>>ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ลมฟ้าอากาศ คือ สภาวะของบรรยากาศ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ส่วน ภูมิอากาศ หมายถึง ลมฟ้าอากาศโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานสำหรับบริเวณใดบริเวณหนึ่ง รวมทั้งค่าทางสถิติต่างๆ เช่น ค่าสูงสุดและต่ำสุดนอกจากนี้ยังรวมถึงช่วงระยะเวลาของลมฟ้าอากาศที่ผิดปกติ เช่น ร้อนจัด หรือหนาวจัด โดยปกติองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ “ปริมาณฝนและอุณหภูมิ” แต่อย่างไรก็ตามยังมีองค์ประกอบที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ลม เมฆ แสงแดด ความกดอากาศ ทัศนวิสัย ความชื้นและปรากฏการณ์ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด เช่น ร้อนจัด หนาวจัด พายุรุนแรง หมอก ลูกเห็บ เป็นต้น ลมฟ้าอากาศจึงเป็นผลจากการเกิดขึ้นและสลายตัวไปของปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาต่างๆ เช่น บริเวณความกดอากาศสูง บริเวณความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขตร้อน เป็นต้น
>>>>อย่างไรก็ตาม ภูมิอากาศจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่หรือบริเวณ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ละติจูด ระยะทางจากทะเล ชนิดของพืชพันธุ์ความสูงต่ำของพื้นที่และปัจจัยทางภูมิศาสตร์อื่นๆ รวมทั้งยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่มีผลต่อภูมิอากาศด้วย เช่น ดวงอาทิตย์ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ภูมิอากาศยังมีการผันแปรตามเวลา โดยผันแปรฤดูต่อฤดู ปีต่อปี ทศวรรษต่อทศวรรษ หรือแม้แต่ในช่วงระยะเวลาที่นานมากๆ เช่น การเกิดยุคน้ำแข็ง เป็นต้น
>>>>คำว่า “ลมฟ้าอากาศ” หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Weather หมายถึงสภาพของบรรยากาศที่เป็นอยู่และเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาสั้นๆ โดยทั่วไป หมายรวมถึงอุณหภูมิ ความชื้น ฝน เมฆ หมอก ลม และทัศนวิสัยเข้าด้วยกันทั้งหมด สภาพลมฟ้าอากาศเป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตได้เป็นอย่างแรกหลังจากที่เราตื่นขึ้นมา และสามารถแปรเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา เช่น ปี ฤดูกาล เดือน วัน และแม้กระทั่งรายชั่วโมง เช่น ตอนเช้าฝนตก ตอนสายแดดออก ตอนบ่ายท้องฟ้าแจ่มใส ก็เป็นไปได้โดยส่วนใหญ่เรามักศึกษาสภาพลมฟ้าอากาศจาก “อุณหภูมิอากาศ (Air temperature)”เพราะสภาพลมฟ้าอากาศที่สำคัญ คือ อุณหภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา
>>>>ส่วนคำว่า “ภูมิอากาศ” หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Climate มีความหมายว่า สภาพของบรรยากาศโดยทั่วๆ ไปของท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นผลเฉลี่ยมาจากการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ดังนั้น ภูมิอากาศจึงเป็นค่าปานกลางของลักษณะลมฟ้าอากาศในระยะเวลานานๆ โดยนำองค์ประกอบต่างๆ ที่มีผลต่อสภาพภูมิอากาศ เช่นอุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ มาหาค่าเฉลี่ย
>>>>หากขยายความให้เห็นชัดขึ้น ครูอาจจะยกตัวอย่างว่า ในชีวิตประจำวัน เรามักเห็นรายการข่าวทางโทรทัศน์หรือวิทยุ เกี่ยวกับการรายงานสภาพลมฟ้าอากาศรายวันและการพยากรณ์อากาศของวันต่อไป ดังนั้น การจดบันทึกเกี่ยวกับสภาพอากาศแต่ละวันเป็นประจำในช่วงระยะเวลาหนึ่งนานๆ จะทำให้เราทราบถึง “ค่าเฉลี่ยของลักษณะลมฟ้าอากาศ” ของแต่ละพื้นที่ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ประเทศไทยจะมีช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำหรือมีอากาศเย็นในช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ช่วงที่มีฝนตกจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม และช่วงที่มีอากาศร้อนคือในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม หรืออาจจะรวมถึงสภาพลมฟ้าอากาศที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษ เช่น การเกิดพายุใต้ฝุ่น เป็นต้น ซึ่งเราเรียกค่าเฉลี่ยที่บอกลักษณะของลมฟ้าอากาศในช่วงระยะเวลาที่นานนี้เองว่า “ภูมิอากาศ” (Climate)
>>>>ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ลมฟ้าอากาศ คือ สภาวะของบรรยากาศ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ส่วน ภูมิอากาศ หมายถึง ลมฟ้าอากาศโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานสำหรับบริเวณใดบริเวณหนึ่ง รวมทั้งค่าทางสถิติต่างๆ เช่น ค่าสูงสุดและต่ำสุดนอกจากนี้ยังรวมถึงช่วงระยะเวลาของลมฟ้าอากาศที่ผิดปกติ เช่น ร้อนจัด หรือหนาวจัด โดยปกติองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ “ปริมาณฝนและอุณหภูมิ” แต่อย่างไรก็ตามยังมีองค์ประกอบที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ลม เมฆ แสงแดด ความกดอากาศ ทัศนวิสัย ความชื้นและปรากฏการณ์ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด เช่น ร้อนจัด หนาวจัด พายุรุนแรง หมอก ลูกเห็บ เป็นต้น ลมฟ้าอากาศจึงเป็นผลจากการเกิดขึ้นและสลายตัวไปของปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาต่างๆ เช่น บริเวณความกดอากาศสูง บริเวณความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขตร้อน เป็นต้น
>>>>อย่างไรก็ตาม ภูมิอากาศจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่หรือบริเวณ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ละติจูด ระยะทางจากทะเล ชนิดของพืชพันธุ์ความสูงต่ำของพื้นที่และปัจจัยทางภูมิศาสตร์อื่นๆ รวมทั้งยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่มีผลต่อภูมิอากาศด้วย เช่น ดวงอาทิตย์ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ภูมิอากาศยังมีการผันแปรตามเวลา โดยผันแปรฤดูต่อฤดู ปีต่อปี ทศวรรษต่อทศวรรษ หรือแม้แต่ในช่วงระยะเวลาที่นานมากๆ เช่น การเกิดยุคน้ำแข็ง เป็นต้น
ขอบคุณมากค่า^^
ReplyDelete