พานอรามา (PANORAMA) ซึ่งหมายถึง ภาพที่เห็นได้อย่างกว้างขวาง มีส่วนกว้างมากกว่าส่วนสูงหลายเท่า เป็นภาพที่ดูนานแค่ไหน ก็ไม่รู้สึกเบื่อ
ในที่นี้พานอรามา จะกล่าวถึงเฉพาะภาพถ่าย ซึ่งเป็นคนละประเภทกับภาพที่ถ่ายจากเลนส์มุมกว้าง (wide angle) แต่เป็นภาพที่มีองค์ประกอบ สัดส่วนปกติ หลาย ๆ ภาพ เรียงต่อเป็นภาพเดียวกัน โดยไม่มีจุดต่างของรอยต่อให้เห็น
การจะได้ภาพพานอรามา จึงไม่ง่าย และอาจเป็นด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ค่อยเห็นแพร่หลายนักแต่โจทย์ยาก ๆ แบบนี้ ชาญ วงศ์วิศวะกร อุปนายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการบริหารสมาพันธ์สมาคมการถ่ายภาพแห่งประเทศไทย กลับมุมานะที่จะเอาดีให้ได้ ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อหาข้อสรุปทางวิชาการมาเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รู้จัก
“ที่ต้องถ่ายแบบพานอรามา ก็เพราะภาพนั้น มีพื้นที่กว้างมาก ถ้าถ่ายธรรมดาจะเจาะได้เป็นชิ้น ๆ ไม่ครอบคลุมทั้งหมด จะใช้เลนส์มุมกว้าง (wide) ก็ต้องขยายหลายส่วน แล้วตัดส่วนบนและส่วนล่าง ออก จะใช้กล้องหมุนที่ถ่ายได้ 360 องศา ก็มีปัญหาฉากหลังโค้ง การทำภาพพานอรามา เป็นการถ่ายภาพที่มีองค์ประกอบหลายส่วน แบ่งถ่ายเป็นหลายเฟรม ตั้งแต่ 2 หรือ 3 เฟรมขึ้นไป ให้มีสัดส่วนความสูง 1 ส่วน ความยาว 3 ส่วน เอามาต่อเป็นรูปเดียว ภาพต้องไม่บิด (Distortion) ไม่หลอกตา มีสัดส่วนสมจริง” ชาญ อธิบายความของภาพมุมยาวให้เข้าใจยิ่งขึ้น
การถ่ายภาพหลายเฟรม ต่อให้เป็นภาพเดียวกันนี่แหละเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะตอนเอาภาพมาต่อให้อยู่ในระนาบเดียวกัน เพราะถ้าตั้งผิด องค์ประกอบในภาพเอียงตั้งแต่เฟรมแรก ภาพถัดไปก็จะเอนตามไปด้วย
“ขาตั้งกล้อง แก้ปัญหาไม่ได้ครับ” ชาญสรุปปัญหาการถ่ายภาพเพื่อเอาหลาย ๆ เฟรมมาต่อว่า การเล็งถ่ายภาพนั้น ทุกช็อตมีโอกาสพลาดมากกว่าฟลุก จึงจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาช่วย ซึ่งตอนนี้ทำเสร็จเกินครึ่งทางแล้ว
เครื่องมือที่ว่าจะติดตั้งบนขาตั้งกล้อง ทำหน้าที่เล็งหาระดับด้วยหลักการเดียวกับกล้องเล็งระดับของช่างสำรวจ ที่เมื่อจับระดับได้แล้วจะหมุนไปทางไหนก็ไม่เพี้ยนแต่ตอนนี้ยังไม่เปิดตัวเครื่องมือที่ว่า เพราะถึงจะใช้งานได้ ก็ยังอยากพัฒนาต่อให้ดีกว่า
ชาญบอกด้วยว่า เครื่องมือของเขาช่วยให้ถ่ายพานอรามาแนวตั้ง เช่น น้ำตก ได้เพียงแต่ยังไม่สามารถคิดเป็นทฤษฎีเพื่ออธิบายวิธีการได้ จึงต้องทดลองทำเพื่อหาข้อสรุปเพิ่มขึ้น
“ผมใช้เครื่องมือที่ทำขึ้นกับกล้องธรรมดา เพื่อถ่ายภาพ ไม่ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ง ภาพแบบนี้ ถ้าถ่ายไม่ได้ระนาบเดียวกัน ถึงจะพยายามให้โปรแกรมจัดการก็ต่อไม่ได้
ภาพที่ชาญถ่าย สามารถจะพรินต์ ให้มีสัดส่วนความกว้างกับความยาว ขนาด 1:6 หรือถ้าจะให้ยาว 10-20 เมตร ก็ทำได้ ที่สำคัญ ตอนนี้กำลังคิดหาวิธีถ่าย ด้วยเลนส์ที่มี Distortion แต่สามารถต่อ กันได้ โดยไม่บิดงอ ซึ่งเป็นงานที่ท้าทาย แต่ถ้าทำได้สำเร็จก็เป็นผลงานภูมิใจยิ่ง ซุ่มทำมาได้ 2 ปี ตอนนี้ใครถามก็ยังแกล้งไม่ได้ยินอยู่
การจะถ่ายพานอรามาให้ได้ดี ไม่มีสูตรลับทางลัดใด ๆ นอกจากการฝึกฝน เพื่อพัฒนาความสามารถให้ดียิ่งขึ้น โดยก่อนถ่ายให้เลือกพื้นที่บันทึกภาพสัก 3 เฟรมขึ้นไป และไม่ควรเข้าใกล้ตำแหน่งที่ต้องการถ่ายนัก เพราะส่วนสูงจะเกินขนาดของภาพ
เราถามว่า นักถ่ายภาพทั่วไปมีทางทำได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้ แต่ต้องมีความรู้เรื่องการถ่ายภาพดี จากนั้นก็พยายามหาประสบการณ์ การถ่ายหลายเฟรม และควรมีอุปกรณ์เสริม ที่จะทำให้แน่ใจว่าจะได้ภาพที่ไม่บิด
สนใจ อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่องพานอรามา หรือจะชวนไปบันทึกภาพทำเลสวย ๆ ในมุมกว้างแบบสุดสายตา ติดต่อได้ ที่ 08-9444-4730 พร้อมจะถ่ายทอดประสบการณ์แบบไม่ปิดบัง
ในที่นี้พานอรามา จะกล่าวถึงเฉพาะภาพถ่าย ซึ่งเป็นคนละประเภทกับภาพที่ถ่ายจากเลนส์มุมกว้าง (wide angle) แต่เป็นภาพที่มีองค์ประกอบ สัดส่วนปกติ หลาย ๆ ภาพ เรียงต่อเป็นภาพเดียวกัน โดยไม่มีจุดต่างของรอยต่อให้เห็น
การจะได้ภาพพานอรามา จึงไม่ง่าย และอาจเป็นด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ค่อยเห็นแพร่หลายนักแต่โจทย์ยาก ๆ แบบนี้ ชาญ วงศ์วิศวะกร อุปนายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการบริหารสมาพันธ์สมาคมการถ่ายภาพแห่งประเทศไทย กลับมุมานะที่จะเอาดีให้ได้ ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อหาข้อสรุปทางวิชาการมาเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รู้จัก
“ที่ต้องถ่ายแบบพานอรามา ก็เพราะภาพนั้น มีพื้นที่กว้างมาก ถ้าถ่ายธรรมดาจะเจาะได้เป็นชิ้น ๆ ไม่ครอบคลุมทั้งหมด จะใช้เลนส์มุมกว้าง (wide) ก็ต้องขยายหลายส่วน แล้วตัดส่วนบนและส่วนล่าง ออก จะใช้กล้องหมุนที่ถ่ายได้ 360 องศา ก็มีปัญหาฉากหลังโค้ง การทำภาพพานอรามา เป็นการถ่ายภาพที่มีองค์ประกอบหลายส่วน แบ่งถ่ายเป็นหลายเฟรม ตั้งแต่ 2 หรือ 3 เฟรมขึ้นไป ให้มีสัดส่วนความสูง 1 ส่วน ความยาว 3 ส่วน เอามาต่อเป็นรูปเดียว ภาพต้องไม่บิด (Distortion) ไม่หลอกตา มีสัดส่วนสมจริง” ชาญ อธิบายความของภาพมุมยาวให้เข้าใจยิ่งขึ้น
การถ่ายภาพหลายเฟรม ต่อให้เป็นภาพเดียวกันนี่แหละเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะตอนเอาภาพมาต่อให้อยู่ในระนาบเดียวกัน เพราะถ้าตั้งผิด องค์ประกอบในภาพเอียงตั้งแต่เฟรมแรก ภาพถัดไปก็จะเอนตามไปด้วย
“ขาตั้งกล้อง แก้ปัญหาไม่ได้ครับ” ชาญสรุปปัญหาการถ่ายภาพเพื่อเอาหลาย ๆ เฟรมมาต่อว่า การเล็งถ่ายภาพนั้น ทุกช็อตมีโอกาสพลาดมากกว่าฟลุก จึงจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาช่วย ซึ่งตอนนี้ทำเสร็จเกินครึ่งทางแล้ว
เครื่องมือที่ว่าจะติดตั้งบนขาตั้งกล้อง ทำหน้าที่เล็งหาระดับด้วยหลักการเดียวกับกล้องเล็งระดับของช่างสำรวจ ที่เมื่อจับระดับได้แล้วจะหมุนไปทางไหนก็ไม่เพี้ยนแต่ตอนนี้ยังไม่เปิดตัวเครื่องมือที่ว่า เพราะถึงจะใช้งานได้ ก็ยังอยากพัฒนาต่อให้ดีกว่า
ชาญบอกด้วยว่า เครื่องมือของเขาช่วยให้ถ่ายพานอรามาแนวตั้ง เช่น น้ำตก ได้เพียงแต่ยังไม่สามารถคิดเป็นทฤษฎีเพื่ออธิบายวิธีการได้ จึงต้องทดลองทำเพื่อหาข้อสรุปเพิ่มขึ้น
“ผมใช้เครื่องมือที่ทำขึ้นกับกล้องธรรมดา เพื่อถ่ายภาพ ไม่ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ง ภาพแบบนี้ ถ้าถ่ายไม่ได้ระนาบเดียวกัน ถึงจะพยายามให้โปรแกรมจัดการก็ต่อไม่ได้
ภาพที่ชาญถ่าย สามารถจะพรินต์ ให้มีสัดส่วนความกว้างกับความยาว ขนาด 1:6 หรือถ้าจะให้ยาว 10-20 เมตร ก็ทำได้ ที่สำคัญ ตอนนี้กำลังคิดหาวิธีถ่าย ด้วยเลนส์ที่มี Distortion แต่สามารถต่อ กันได้ โดยไม่บิดงอ ซึ่งเป็นงานที่ท้าทาย แต่ถ้าทำได้สำเร็จก็เป็นผลงานภูมิใจยิ่ง ซุ่มทำมาได้ 2 ปี ตอนนี้ใครถามก็ยังแกล้งไม่ได้ยินอยู่
การจะถ่ายพานอรามาให้ได้ดี ไม่มีสูตรลับทางลัดใด ๆ นอกจากการฝึกฝน เพื่อพัฒนาความสามารถให้ดียิ่งขึ้น โดยก่อนถ่ายให้เลือกพื้นที่บันทึกภาพสัก 3 เฟรมขึ้นไป และไม่ควรเข้าใกล้ตำแหน่งที่ต้องการถ่ายนัก เพราะส่วนสูงจะเกินขนาดของภาพ
เราถามว่า นักถ่ายภาพทั่วไปมีทางทำได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้ แต่ต้องมีความรู้เรื่องการถ่ายภาพดี จากนั้นก็พยายามหาประสบการณ์ การถ่ายหลายเฟรม และควรมีอุปกรณ์เสริม ที่จะทำให้แน่ใจว่าจะได้ภาพที่ไม่บิด
สนใจ อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่องพานอรามา หรือจะชวนไปบันทึกภาพทำเลสวย ๆ ในมุมกว้างแบบสุดสายตา ติดต่อได้ ที่ 08-9444-4730 พร้อมจะถ่ายทอดประสบการณ์แบบไม่ปิดบัง
ปล.คนถ่ายภาพมุมกว้าง ก็ใจกว้างแบบนี้แหละ
ที่มาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
No comments:
Post a Comment