เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้แม้ไม่ประมาทและมักทำให้เกิดเลือดตกยางออกอยู่เสมอ ขอแนะนำวิธีการห้ามเลือดอย่างถูกต้อง แต่ก่อนจะเรียนรู้เทคนิคการห้ามเลือด เราควรทราบเรื่องราวของเส้นเลือดก่อน
เส้นเลือดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย
เส้นเลือดแดง เป็นเลือดที่ไหลออกมาจากหัวใจเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากเกิดแผลที่ทำให้เลือดออกจากเส้นเลือดชนิดนี้จะห้ามเลือดยาก โดยเลือดจะทะลักออกตามจังหวะการเต้นของหัวใจ เลือดจะเป็นสีแดงและไม่เกิดลิ่มเลือด
เส้นเลือดดำ เมื่อเกิดแผลเลือดที่ไหลออกมาจะมีสีคล้ำ ไหลแบบริน ๆ ไม่เร็ว ไม่ช้า เนื่องจากเป็นเลือดที่อวัยวะต่าง ๆ ใช้ออกซิเจนแล้วกำลังส่งกลับไปยังหัวใจ
เส้นเลือดฝอย เส้นเลือดที่เชื่อมโยงเป็นตาข่ายระหว่างเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเป็นแผลแล้วเลือดออกจากเส้นเลือดชนิดนี้ โดยเลือดจะซึมออกมาช้า ๆ สามารถห้ามเลือดได้ง่าย
วิธีการห้ามเลือด ทำได้ง่ายที่สุดคือการใช้นิ้วหรือฝ่ามือกดลงบริเวณปากแผล ซึ่งจะต้องเป็นแผลถลอก ขนาดเล็ก ตื้น ๆ แต่ถ้าสามารถหาสำลีหรือผ้าสะอาดก็ให้นำมาใช้ปิดปากแผลเพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากแผลใหญ่เลือดไหลออกมาก ควรใช้วิธีขันชะเนาะ และควรคลายเชือกทุก 15 นาที เพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงเซลล์ได้ อย่างไรก็ตาม การขันชะเนาะนิยมใช้เมื่อบาดแผลเกิดขึ้นบริเวณแขนหรือขา
วิธีขันชะเนาะ เริ่มจากใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าที่หาได้พับเป็นเบาะสี่เหลี่ยมวางบนเส้นเลือดแดงบริเวณแขนหรือขา จุดที่คลำชีพจรพบ จากนั้นใช้ผ้าหรือเชือกพันรอบแขนหรือรอบขาบนเบาะราวสองรอบแล้วผูกเงื่อน 1 ครั้ง สอดท่อนไม้ก่อนผูกเงื่อนตายซ้ำอีกทบ
ลำดับต่อมาให้หมุนท่อนไม้ไปรอบ ๆ เงื่อนที่ผูกไว้อีกหลายครั้ง ถือเป็นการขันชะเนาะจนเลือดหยุดไหล แล้วผูกปลายอีกด้านของท่อนไม้เข้ากับแขนหรือขาป้องกันเกลียวคลายหลุดออก.
http://variety.teenee.com/science/22761.html
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment